จากวิกฤติปัญหาน้ำท่วมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนจำต้องระมัดระวังตนเองในการบริโภคน้ำดื่มเพราะการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาดอาจทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆตามมาได้ นพ.วิโรจน์ เมืองศิลป ศาสตร์ แพทย์หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลเวชธานี ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำสะอาดว่าลักษณะของน้ำดื่มที่ดีมีคุณประโยชน์กับร่างกายมนุษย์ ควร ปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและสารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น มีเชื้อจุลินทรีย์ โลหะหนัก สารเคมี โดยจะต้อง ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม เพราะ การที่น้ำมีแร่ธาตุละลายอยู่มากจะช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว นอนหลับ สดใส กระปรี้กระเปร่า ลดคอเลสเตอรอลและจิตใจสงบผ่อนคลาย
รวมทั้ง จะต้องมี โครง สร้างโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อทำให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง และนำพาของเสียออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้ “น้ำดื่มที่ดีควรมี ความกระด้างของน้ำปานกลาง โดยมีความเป็นด่างอ่อน ๆ มีค่าความเป็นกรดและด่างระหว่าง พีเอช 7.25-8.50 เพื่อช่วยกำจัดความเป็นกรดและของเสียในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภาวะที่สมดุล สุดท้าย มีปริมาณออกซิเจนที่เจือปนอยู่ด้วย โดยจะต้องวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือมากกว่า” สิ่งที่จะปนเปื้อนมากับน้ำดื่มได้ นพ.วิโรจน์ กล่าวว่า จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ โปรโตซัว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไกอาร์เดีย แลมเบลีย และคริปโตสปอรีเดียม สำหรับแบคทีเรีย ที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์ขนาดกลาง ได้แก่ อีโคไล, วิบริโอ คอเลอเร, แคมไพโลแบคเตอร์ และซัลโมเนลล่า ส่วนไวรัส เป็นชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ ตลอดจน มลพิษ ได้แก่ สารเคมี น้ำเสีย น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วไหล สารมลพิษโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ สารที่มนุษย์สร้างขึ้นและสารที่เป็นธรรมชาติ สารมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นจะถูกนำเข้าสู่แหล่งน้ำโดยโรงงานผลิตของเสียและการจัดการกำจัดมลพิษทางอากาศและอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นสารเคมี เชื้อเพลิง หรือสิ่งปฏิกูลจากผลิตภัณฑ์ มลพิษเหล่านี้สามารถทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นและสามารถทำให้เกิดโรคทางร่างกายหรือเสียชีวิตได้
หากบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาดมีเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ปนเปื้อนจะก่อให้เกิดโรค และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ คอเลอเร ที่แพร่กระจายอยู่ในน้ำดื่มและอาหาร โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค และแน่นอนว่าโรคนี้แพร่ระบาดได้โดยการกินและดื่มอาหารและน้ำที่มีแมลงวันตอมและมีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ รวมทั้ง อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระเหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง แต่ไม่เกินวันละ 1 ลิตร อาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย
สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1-5 วัน แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรงจะมีอาการท้องเดิน อุจจาระมากและมีลักษณะอุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาว และอุจจาระได้โดยไม่ปวดท้องและไม่รู้สึกตัว สามารถหายได้ภายใน 2-6 วัน หากได้รับเกลือแร่และชดเชยน้ำที่เสียไป แต่หากได้รับไม่พอดีกับที่เสียไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการหมดแรง หน้ามืด อาจช็อกได้ การป้องกันทำได้โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก รวมถึง รักษาสุขภาพอนามัยด้วยการล้างมือและภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง และ ไม่ควรนำน้ำท่วมมาล้างภาชนะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค หรือหากติดเชื้อแล้ว ควรพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ต่อมา คือ ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา ไทฟี ที่อยู่ในน้ำและอาหารเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค สามารถแพร่ระบาดโดยการดื่มน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไปจะไม่แสดงอาการทันที แต่จะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร มีไข้สูงมาก ท้องร่วง บางรายมีผื่นขึ้นตามตัว แน่นท้อง สามารถหายได้เองภายใน 1 เดือน แต่ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์หลังจากมีอาการแล้ว เพราะอาจจะเสียชีวิตจากภาวะปอดบวมได้
การป้องกันไข้ไทฟอยด์ ทำได้โดยรับประทานอาหารที่สะอาด อยู่ในภาชนะที่สะอาด รวมถึง ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหารทุกครั้ง และควรจะหลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนนที่อยู่ในบริเวณที่ไม่สะอาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออีกทางหนึ่ง คือ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์
อีกโรคหนึ่ง คือ โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ โดยไวรัสตับอักเสบที่มาจากภาวะน้ำท่วม คือ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ทำให้สุก “ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดตัวแถวชายโครงขวา และมีปัสสาวะเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองในสัปดาห์แรก และจะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคตับอักเสบรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด ไม่ใช้แก้วน้ำและช้อนร่วมกับผู้อื่น” ในเรื่องของการดื่มน้ำ นพ.วิโรจน์ ทิ้งท้ายว่า เชื้อโรคนั้นมักปนเปื้อนสู่ร่างกายโดยการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาด การป้องกัน คือ ควรดื่มน้ำที่ผ่านการกรองแล้วนำมาต้มสุก ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่มีอาการท้องร่วงจากเชื้อโรคในน้ำที่ดื่ม ควรดื่มน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม ในกรณีที่มีอาการท้องเสียรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
เคล็ดลับสุขภาพดี แนะวิธีรักษาอาการ 'ตาแดง' ภัยแฝงที่มากับน้ำท่วม
โรคที่มักมากับน้ำท่วมคือ “ตาแดง”ซึ่งพบบ่อยและมีการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และเด็ก ๆ ที่ชอบกระโดดเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หากเราไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคตาแดงได้ก็ควรทราบวิธีรักษาอาการเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการและเพื่อความปลอดภัยของดวงตา วันนี้เคล็ดลับสุขภาพมีวิธีดูแลตัวเองหลังจากเป็นโรคตาแดงมาฝากกันค่ะ โดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านความเสี่ยง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความรู้ว่า โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาขาวอักเสบ เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดเมื่อเกิดน้ำท่วมมาสักระยะหนึ่ง มักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือสิ่งระคายเคืองปะปนอยู่กับน้ำท่วมขังซึ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาด โดยอาการของผู้ป่วยจะมีอาการปวด คัน และบวมบริเวณเยื่อบุตาขาว มีอาการกลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตา อาจมีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนที่จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กระจกตาดำอักเสบ เป็นต้น การดูแลตัวเองในเบื้องต้นหากเราติดเชื้อโรคตาแดงแล้ว โดยเราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณดวงตา โดยการเช็ด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดเช็ดขี้ตาออก หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา หรืออาจใช้ยาหยดตากลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น ยาหยดตาคลอแรมเฟนนิคอล แต่หากผู้ป่วยมีอาการคันอย่างมากอาจต้องพบแพทย์เพื่อรับยามารับประทานแก้คัน อย่างไรก็ตามการล้างตาด้วยน้ำยาล้างตาหรือน้ำสะอาดมักจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น
หากเราดูแลตัวเองอย่างดีตามขั้นตอนแรกที่เอ่ยไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน โดยมีอาการ
เช่น ขี้ตาเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง มีอาการตามัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที สำหรับการป้องกันโรคตาแดงที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย คือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ฝุ่นละอองหรือน้ำท่วมขังที่สกปรกเข้าตา โดยเฉพาะเด็ก ๆ ไม่ควรเล่นน้ำในที่น้ำท่วมขัง ถ้าหากฝุ่นละอองหรือน้ำกระเด็นเข้าตาควรรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หมั่นล้างมือเป็นประจำเพราะมือเราอาจจะเปียกน้ำสกปรกหรือเปื้อนขี้ฝุ่นโดยไม่ตั้งใจแล้วเผลอไปแคะขี้ตาหรือขยี้ตาทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรแยกผู้ป่วยจากสมาชิกอื่นในครอบครัวนาน 2-3 วัน หรือไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
เมื่อทราบแบบนี้แล้วอย่าลืมป้องกันหรือหากติดเชื้อตาแดงแล้วควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เราควรดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันตัวเองและลดการแพร่ระบาดของโรคตาแดงอย่างเคร่งครัด เพราะหากเป็นโรคตาแดงแล้วอาจมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อดวงตาของเราได้ซึ่งจะเป็นอันตรายในภายหลังค่ะ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
รวมทั้ง จะต้องมี โครง สร้างโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อทำให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง และนำพาของเสียออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้ “น้ำดื่มที่ดีควรมี ความกระด้างของน้ำปานกลาง โดยมีความเป็นด่างอ่อน ๆ มีค่าความเป็นกรดและด่างระหว่าง พีเอช 7.25-8.50 เพื่อช่วยกำจัดความเป็นกรดและของเสียในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภาวะที่สมดุล สุดท้าย มีปริมาณออกซิเจนที่เจือปนอยู่ด้วย โดยจะต้องวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือมากกว่า” สิ่งที่จะปนเปื้อนมากับน้ำดื่มได้ นพ.วิโรจน์ กล่าวว่า จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ โปรโตซัว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไกอาร์เดีย แลมเบลีย และคริปโตสปอรีเดียม สำหรับแบคทีเรีย ที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์ขนาดกลาง ได้แก่ อีโคไล, วิบริโอ คอเลอเร, แคมไพโลแบคเตอร์ และซัลโมเนลล่า ส่วนไวรัส เป็นชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ ตลอดจน มลพิษ ได้แก่ สารเคมี น้ำเสีย น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วไหล สารมลพิษโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ สารที่มนุษย์สร้างขึ้นและสารที่เป็นธรรมชาติ สารมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นจะถูกนำเข้าสู่แหล่งน้ำโดยโรงงานผลิตของเสียและการจัดการกำจัดมลพิษทางอากาศและอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นสารเคมี เชื้อเพลิง หรือสิ่งปฏิกูลจากผลิตภัณฑ์ มลพิษเหล่านี้สามารถทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นและสามารถทำให้เกิดโรคทางร่างกายหรือเสียชีวิตได้
สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1-5 วัน แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรงจะมีอาการท้องเดิน อุจจาระมากและมีลักษณะอุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาว และอุจจาระได้โดยไม่ปวดท้องและไม่รู้สึกตัว สามารถหายได้ภายใน 2-6 วัน หากได้รับเกลือแร่และชดเชยน้ำที่เสียไป แต่หากได้รับไม่พอดีกับที่เสียไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการหมดแรง หน้ามืด อาจช็อกได้ การป้องกันทำได้โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก รวมถึง รักษาสุขภาพอนามัยด้วยการล้างมือและภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง และ ไม่ควรนำน้ำท่วมมาล้างภาชนะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค หรือหากติดเชื้อแล้ว ควรพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ต่อมา คือ ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา ไทฟี ที่อยู่ในน้ำและอาหารเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค สามารถแพร่ระบาดโดยการดื่มน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไปจะไม่แสดงอาการทันที แต่จะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร มีไข้สูงมาก ท้องร่วง บางรายมีผื่นขึ้นตามตัว แน่นท้อง สามารถหายได้เองภายใน 1 เดือน แต่ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์หลังจากมีอาการแล้ว เพราะอาจจะเสียชีวิตจากภาวะปอดบวมได้
การป้องกันไข้ไทฟอยด์ ทำได้โดยรับประทานอาหารที่สะอาด อยู่ในภาชนะที่สะอาด รวมถึง ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหารทุกครั้ง และควรจะหลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนนที่อยู่ในบริเวณที่ไม่สะอาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออีกทางหนึ่ง คือ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์
อีกโรคหนึ่ง คือ โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ โดยไวรัสตับอักเสบที่มาจากภาวะน้ำท่วม คือ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ทำให้สุก “ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดตัวแถวชายโครงขวา และมีปัสสาวะเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองในสัปดาห์แรก และจะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคตับอักเสบรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด ไม่ใช้แก้วน้ำและช้อนร่วมกับผู้อื่น” ในเรื่องของการดื่มน้ำ นพ.วิโรจน์ ทิ้งท้ายว่า เชื้อโรคนั้นมักปนเปื้อนสู่ร่างกายโดยการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาด การป้องกัน คือ ควรดื่มน้ำที่ผ่านการกรองแล้วนำมาต้มสุก ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่มีอาการท้องร่วงจากเชื้อโรคในน้ำที่ดื่ม ควรดื่มน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม ในกรณีที่มีอาการท้องเสียรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
เคล็ดลับสุขภาพดี แนะวิธีรักษาอาการ 'ตาแดง' ภัยแฝงที่มากับน้ำท่วม
โรคที่มักมากับน้ำท่วมคือ “ตาแดง”ซึ่งพบบ่อยและมีการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และเด็ก ๆ ที่ชอบกระโดดเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หากเราไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคตาแดงได้ก็ควรทราบวิธีรักษาอาการเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการและเพื่อความปลอดภัยของดวงตา วันนี้เคล็ดลับสุขภาพมีวิธีดูแลตัวเองหลังจากเป็นโรคตาแดงมาฝากกันค่ะ โดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านความเสี่ยง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความรู้ว่า โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาขาวอักเสบ เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดเมื่อเกิดน้ำท่วมมาสักระยะหนึ่ง มักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือสิ่งระคายเคืองปะปนอยู่กับน้ำท่วมขังซึ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาด โดยอาการของผู้ป่วยจะมีอาการปวด คัน และบวมบริเวณเยื่อบุตาขาว มีอาการกลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตา อาจมีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนที่จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กระจกตาดำอักเสบ เป็นต้น การดูแลตัวเองในเบื้องต้นหากเราติดเชื้อโรคตาแดงแล้ว โดยเราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณดวงตา โดยการเช็ด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดเช็ดขี้ตาออก หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา หรืออาจใช้ยาหยดตากลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น ยาหยดตาคลอแรมเฟนนิคอล แต่หากผู้ป่วยมีอาการคันอย่างมากอาจต้องพบแพทย์เพื่อรับยามารับประทานแก้คัน อย่างไรก็ตามการล้างตาด้วยน้ำยาล้างตาหรือน้ำสะอาดมักจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น
หากเราดูแลตัวเองอย่างดีตามขั้นตอนแรกที่เอ่ยไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน โดยมีอาการ
เช่น ขี้ตาเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง มีอาการตามัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที สำหรับการป้องกันโรคตาแดงที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย คือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ฝุ่นละอองหรือน้ำท่วมขังที่สกปรกเข้าตา โดยเฉพาะเด็ก ๆ ไม่ควรเล่นน้ำในที่น้ำท่วมขัง ถ้าหากฝุ่นละอองหรือน้ำกระเด็นเข้าตาควรรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หมั่นล้างมือเป็นประจำเพราะมือเราอาจจะเปียกน้ำสกปรกหรือเปื้อนขี้ฝุ่นโดยไม่ตั้งใจแล้วเผลอไปแคะขี้ตาหรือขยี้ตาทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรแยกผู้ป่วยจากสมาชิกอื่นในครอบครัวนาน 2-3 วัน หรือไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
เมื่อทราบแบบนี้แล้วอย่าลืมป้องกันหรือหากติดเชื้อตาแดงแล้วควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เราควรดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันตัวเองและลดการแพร่ระบาดของโรคตาแดงอย่างเคร่งครัด เพราะหากเป็นโรคตาแดงแล้วอาจมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อดวงตาของเราได้ซึ่งจะเป็นอันตรายในภายหลังค่ะ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..