ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำคนไทยที่ชอบรับประทานผักสด ผักสลัด ขอให้ล้างผักด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ 2 นาที จะช่วยลดการปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค สารพิษตกค้าง รวมทั้งพยาธิได้ เผยผลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในประเทศไทยที่ผ่านมา ยังไม่พบการติดเชื้ออี.โคไล ชนิดรุนแรง
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อแบคที่เรียอี.โคไล (Escherichia Coli :E. Coli) ในประเทศแถบยุโรป ว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ไทยพบโรคอุจจาระร่วงๆทั่วไปซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศแถบร้อน ปีละประมาณ 1 ล้านกว่าราย ในปี 2554 มีรายงานทั่วประเทศประมาณ 530,000 ราย เสียชีวิต 21 ราย โดยยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้ออี.โคไล ชนิดรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในยุโรปขณะนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขมีระบบเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็งทั้งด้านระบาดวิทยา และการตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขอให้คนไทยสบายใจได้ และไทยมีการนำเข้าผักจากยุโรปน้อยมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถผลิตพืชผักบริโภคได้ตลอดปี
วิธีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหารที่สุดคือ การปรุงสุกผ่านความร้อน โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ความร้อนจะทำลายเชื้อโรค รวมทั้งไข่พยาธิที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มของผู้ที่นิยมบริโภคผักสดในรูปของผัดสลัด ผักแนม หรือผักจิ้มน้ำพริกต่างๆ ซึ่งผักสดจะมีคุณค่าทางวิตามินสูงเช่นวิตามินเอ วิตามินซี มีกากใย ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
วิธีการบริโภคที่ปลอดภัย ขอให้ล้างผักก่อนด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ผักที่มีลักษณะเป็นกาบ เป็นหัว เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ให้ลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไป และแกะกลีบหรือใบออกจากต้น ตลอดจนคลี่ใบและถูกระหว่างการล้าง เพื่อให้น้ำผ่านได้อย่างทั่วถึง ในการล้างควรล้างผักผ่านน้ำไหลนานประมาณ 2 นาที การล้างวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรค และพยาธิรวมทั้งลดปริมาณการปนเปื้อนเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรลงได้ นอกจากนี้ขอให้แยกเก็บอาหารระหว่างเนื้อสัตว์สด และผักสด ไม่ให้ปะปนกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
สำหรับวิธีการป้องกันโรคอุจจาระร่วงทั่วๆไป ขอให้ประชาชนยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และถ่ายอุจจาระลงส้วม ในการล้างมือนั้น ขอให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังใช้ห้องส้วมและก่อนรับประทานอาหาร
ที่มา...สาธารณสุข
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อแบคที่เรียอี.โคไล (Escherichia Coli :E. Coli) ในประเทศแถบยุโรป ว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ไทยพบโรคอุจจาระร่วงๆทั่วไปซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศแถบร้อน ปีละประมาณ 1 ล้านกว่าราย ในปี 2554 มีรายงานทั่วประเทศประมาณ 530,000 ราย เสียชีวิต 21 ราย โดยยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้ออี.โคไล ชนิดรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในยุโรปขณะนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขมีระบบเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็งทั้งด้านระบาดวิทยา และการตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขอให้คนไทยสบายใจได้ และไทยมีการนำเข้าผักจากยุโรปน้อยมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถผลิตพืชผักบริโภคได้ตลอดปี
วิธีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหารที่สุดคือ การปรุงสุกผ่านความร้อน โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ความร้อนจะทำลายเชื้อโรค รวมทั้งไข่พยาธิที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มของผู้ที่นิยมบริโภคผักสดในรูปของผัดสลัด ผักแนม หรือผักจิ้มน้ำพริกต่างๆ ซึ่งผักสดจะมีคุณค่าทางวิตามินสูงเช่นวิตามินเอ วิตามินซี มีกากใย ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
วิธีการบริโภคที่ปลอดภัย ขอให้ล้างผักก่อนด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ผักที่มีลักษณะเป็นกาบ เป็นหัว เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ให้ลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไป และแกะกลีบหรือใบออกจากต้น ตลอดจนคลี่ใบและถูกระหว่างการล้าง เพื่อให้น้ำผ่านได้อย่างทั่วถึง ในการล้างควรล้างผักผ่านน้ำไหลนานประมาณ 2 นาที การล้างวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรค และพยาธิรวมทั้งลดปริมาณการปนเปื้อนเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรลงได้ นอกจากนี้ขอให้แยกเก็บอาหารระหว่างเนื้อสัตว์สด และผักสด ไม่ให้ปะปนกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
สำหรับวิธีการป้องกันโรคอุจจาระร่วงทั่วๆไป ขอให้ประชาชนยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และถ่ายอุจจาระลงส้วม ในการล้างมือนั้น ขอให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังใช้ห้องส้วมและก่อนรับประทานอาหาร
ที่มา...สาธารณสุข
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..