ข้าวแช่เป็นกับข้าวของชาวมอญ คนไทยช่างกินและช่างดัดแปลงอยู่แล้ว พอลิ้มรสเข้าก็ถูกปาก ข้าวแช่มอญจึงถูกแปลงเป็นข้าวแช่ไทย แต่เพราะข้าวแช่ทำยาก ยิ่งจะเอาให้อร่อยยิ่งต้องวิลิศมาหรา ข้าวแช่ไทยชั้นดีจึงมีอยู่แต่ในวัง คนธรรมดาหมดปัญญาทำ ช่วงสงกรานต์ ปกติต้องทำบุญกระดูกบรรพบุรุษ สรงน้ำพระพุทธรูปและเลี้ยงพระกันอยู่แล้วก็เลยเป็นประเพณีตั้งสำรับข้าวแช่เลี้ยงพระ เรียกว่างานบุญกรานข้าวแช่ พอทำทั้งทีแล้วไหนจะทำยาก ไหนจะลงแขกมาช่วยกัน ก็ต้องเผื่อแผ่ทำเลี้ยงแขกเหรื่อญาติมิตรด้วย กับข้าวถ้ามีเหลือ ความที่เป็นของไม่บูดไม่เน่าก็เก็บไว้กินต่อได้อีกแรมเดือน ขาดอะไรก็ทำเพิ่มเอาอย่างสองอย่าง เท่านี้ก็ได้ข้าวแช่ไว้กินตลอดหน้าร้อน พอปีหน้าก็มาว่ากันใหม่
ความยากลำบากในการทำข้าวแช่มี 5 ขั้นตอน คือ
1. ตอนหุงข้าวและขัดให้เมล็ดเสมอกัน
2. ตอนปรุงเครื่องข้าวแช่ ของมอญแท้ๆ จะมีไม่กี่อย่าง แต่พอเข้าวังก็จะมีลูกกะปิ (ทำเก็บไว้ได้นาน) หัวหอมแดงยัดไส้ลูกกะปิ พริกหยวกยัดไส้หมูสับคลุมด้วยไข่ทอดโรยเป็นตาข่าย หัวไชโป๊เค็มหั่นฝอยผัดกับน้ำตาลโตนดจนหวาน บางทีก็มีมะม่วงดิบฝอยผัดหวาน
3.น้ำแช่ข้าว ต้องให้หอมดอกมะลิ กระดังงา ชมนาด และต้องแช่ให้เย็น โบราณจะใส่คนโทดินแช่ไว้ สมัยหลังมีน้ำแข็งแล้วก็ใช้น้ำแข็งช่วย
4. ผักกินกับข้าวแช่มีกระชายสดจักเป็นดอกจำปี พริกสดจักแตงกวา มะม่วงดิบจักเป็นใบไม้ ต้นหอมจัก
รัชกาลที่ 4 โปรดเสวยข้าวแช่มาก เมื่อเสด็จไปประทับที่พระนครคีรี เพชรบุรีทรงถามหาข้าวแช่แต่ไม่มีใครทำเป็น ห้องเครื่องจึงรับชาวบ้านที่สนใจเข้ามาหัดทำแบบง่ายๆ ไม่ประดิดประดอยอย่างชาววัง ก็ได้ลูกกะปิ ปลายี่สนผัดหวาน ไชโป๊หวานมาเป็นเครื่องข้าวแช่ ส่วนหัวหอมยัดไส้พริกหยวกยัดไส้และผักนั้นไม่มี ว่ากันว่าผักก็มาเพิ่มสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะมะม่วงดิบซึ่งโปรดมาก
นับแต่นั้นมาข้าวแช่เพชรบุรีก็โด่งดังขึ้นคู่กับของชาววัง ปัจจุบันนี้มีข้าวแช่อยู่ในท้องตลาด 4 แบบ คือ
1. แบบมอญดั้งเดิม 2. แบบเพชรบุรี 3. แบบชาววังเต็มยศ 4. แบบตามวังเจ้านายที่รับจากวังหลวงมาดัดแปลงอีกที เช่น มีปลารำวงทอดกรอบ เนื้อเค็มฝอยเป็นของแกล้ม เป็นต้น
ร้อน ลดร้อน ดับร้อน หายร้อน กระหาย ร้อนโครต หายร้อน ร้อนมาก hot very hot hot degree ,hot temperature, เมนู,อาหารลดร้อน,เครื่องดื่ม,ดับกระหาย,เครื่องดื่มเย็น,เย็นๆ,เย็น,อาหาร,น้ำ,สมุนไพร,
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..