ข้อเสนอพิเศษ ลองดู

Thursday, 9 August 2012

พบสารพัดเชื้อโรค ใน "เส้นขนมจีน" หวั่นไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551

ช่วงนี้หน้าฝน อาหารการกินอะไรก็เริ่มหาลำบาก โดยเฉพาะขนมจีน ขนมจีนในบ้านเรา มีหลายยี่ห้อ
โดยเฉพาะขนมจีนเส้นหมัก แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้มาตราฐาน คน ไทยก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่ ยังไงก็ขอให้ดูให้ดีก่อนรับประทานนะครับ

พบสารพัดเชื้อโรค ใน "เส้นขนมจีน" หวั่นไม่ปลอดภัย


อย.เผยเตรียมยกระดับ เข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี

          อย.เผยผลสำรวจโรงงานผลิตขนมจีนทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ตกเกณฑ์ได้คะแนนมาตรบาน อีเอ็มพีแค่ 20-29 เผยตรวจ 77 แห่ง พบสารพัดเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย ชี้ขั้นตอนมีปัญหาปนเปื้อนอยู่ที่น้ำและการผลิต ส่วนตัวแป้งหมักไม่มีปัญหาเพราะมีความเป็นกรดสูง เตรียมดันเข้าเกณฑ์จีเอ็มพีภายใน 3 ปีเหมือนก๋วยเตี๋ยว




เชื้อโรค มักแอบซ่อนในทุกที่ ต้องระวัง


ในการประชุมวิชาการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประจำปี 2551 น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงผลการสำรวจการผลิตขนมจีน
เพื่อบังคับใช้มาตรฐานจีเอ็มพี ว่าพบเชื้อจุลินทรีย์ดัชนีที่บ่งชี้ถึงการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

ทั้งนี้เป็นผลจากการสำรวจสถานที่ผลิตขนมจีน 77 แห่งทั่วประเทศระหว่าง ม.ค.-พ.ค.2551 ในจำนวนนี้
มีสถานที่ผลิตที่เข้าข่ายโรงงาน 45 แห่ง หรือ 57.14% ไม่มีการขออนุญาตสถานที่ผลิตได้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย 36 แห่ง คิดเป็น 80% โดยมีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน 32 แห่ง


ทั้งนี้มีการผลิตมากกว่า 500 กก.ต่อวัน 18 แห่ง หรือ 23.38% ผลิต 400-499 กก.ต่อวัน
5 แห่ง หรือ 6.49% ผลิต 300-399 กก.ต่อวัน 6 แห่ง
หรือ 7.79% ผลิต 200-299 กก.ต่อวัน 17 แห่ง หรือ 22.08% ผลิต 100-199 กก.ต่อวัน 16 แห่ง
หรือ 20.78% และผลิตน้อยกว่า 100 กก.ต่อวัน 15 ผลิตน้อยกว่า 100 กก.ต่อวัน 15 แห่ง หรือ 19.48%

ทั้งนี้การผลิตเส้นขนมจีนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดเส้นแป้งสดและแป้งหมัก
โดยมีกระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกันแต่มีความแตกต่างกันเฉพาะระยะเวลาหลังการโม่แป้ง
และทิ้งตกตะกอน โดยแป้งหมักจะทิ้งไว้แค่ 1-3 วัน ส่วนแป้งสดไม่ต้องทิ้งไว้
แต่ปัจจุบันมีการใช้แป้งสำเร็จรูปแทนการใช้ข้าวจำนวน 39 แห่ง หรือคิดเป็น 50.56%

น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวต่อว่า แม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะยังไม่กำหนดให้โรงงานผลิตขนมจีน
ต้องมีจีเอ็มพี แต่จากผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิต พบว่าไม่มีสถานที่ใดเลยที่ผ่านการประเมินจีเอ็มพี ส่วนใหญ่มีคะแนนจีเอ็มพีอยู่ที่ 20-29.99 คะแนนจำนวน 36 แห่ง คิดเป็น 46.75% และสถานที่ผลิต
ทุกแห่งพบข้อบกพร่องรุนแรง โดยเฉพาะน้ำที่ใช้ในการผลิตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

และจากการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีขนมจีนพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานจำนวน 1 แห่ง 1 ตัวอย่าง

ซึ่งพบในปริมาณ 1,309.98 มก.กรัมต่อ กก. และพบการใช้วัตถุกันเสียที่มีการอนุญาต
ตามกฎหมาย 32 ตัวอย่างคิดเป็น 41.56% โดยมีปริมาณอยู่ที่ 10-747 มก.ต่อ กก.
นอกจากนี้จากการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์พบขนมจีนไม่ผ่านเกณฑ์ 10 ตัวอย่าง
จำแนกตามจุลินทรีย์ที่พบ คือ คอลิฟอร์ม 4 ตัวอย่าง อีโคไล 2 ตัวอย่าง
สเตปไฟต์โตคอคคัสออเรียส 1 ตัวอย่าง และบาซิเรียส ครูซ 1 ตัวอย่าง

สำหรับการปนเปื้อนนั้นพบว่าใน 77 สถานที่ผลิต พบปัญหาปนเปื้อนของเชื้อคอลิฟอร์มในน้ำ
ที่ใช้ผลิตถึง 40 แห่งหรือ 51.95% และพบปนเปื้อนอิโคไล 19 แห่ง หรือ 24.68%
และการสำรวจมือพนักงานผลิตจาก 83 ตัวอย่างพบเชื้อคอลิฟอร์ม 49 ตัวอย่าง หรือ 59.03%
เชื้ออีโคไล 10 ตัวอย่าง หรือ 12.04%

อีโคไล ภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กำลังขยาย 10,000 เท่า

น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวว่าอย่างไรก็ตามแม้ว่าเส้นขนมจีนจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่ำ เนื่องจากเป็นการหมักด้วยแป้ง ทำให้เกิดกรด เชื้อไม่เจริญเติบโตได้ แต่ยังมีความจำเป็น
ที่ผู้ผลิตต้องปรับปรุงสุขลักษณะการผลิตให้ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่ปลอดภัย
ในการบริโภค 


ดังนั้น ทางอย.จึงเตรียมเดินหน้าโครงการยกระดับการผลิตควบคู่กับการยกระดับผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว
โดยตั้งเป้าไว้ภายใน 2-3 ปี จะต้องสู่มาตรฐานจีเอ็มพีทั้งหมดเน้นปรับปรุงสถานที่ผลิตเครื่องจักร ควบคุมกระบวนการผลิตไม่ให้เกิดการปนเปื้อนและต้องให้ความรู้ผู้ผลิตในเรื่องสุขลักษณะรวมทั้ง
การใช้สารเคมีวัตถุกันเสียเพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น



 ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์






No comments:

Post a Comment

ขอบคุณจ้า..