ข้อเสนอพิเศษ ลองดู

Saturday 27 October 2012

ทำให้ผักดูสดใหม่และต้มผักให้มีสีสันน่ากิน


           

         วันนี้อยากขอพูดเกี่ยวกับเรื่องผักๆซักหน่อย หลังจากที่เราได้กินผักราคาสูงในช่วงกินเจ (แต่ผมไม่กินเจ) ทำยังไงที่เราจะรับมือเรื่องนี้ได้ นอกจากที่เราจะหาเรื่องปลูกผักเอง ผมไปเจอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลผักสด และทำให้ผักที่เราซื้อมาทำอาหาร ต้มยังไงให้ดูสดน่ากินมาฝากครับ เผื่อคราวหน้าเราจะ
ได้ผักลวกที่ดูสดมาเป็นเครื่องเคียงในการรับประทานกับขนมจีน โดยไม่เสียความรู้สึกกับผักที่ดูเหี่ยวๆอีกต่อไป




การเก็บผักไว้ในตู้เย็น อาจทำให้ผักดูไม่สด ไม่น่ารับประทาน



        วิธีง่ายๆ ที่จะคืนความสดให้กับผักทำได้โดยการเตรียมภาชนะใส่น้ำให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแช่ผัก
จากนั้นตัดก้านผักออกบางส่วนโดยต้องตัดใต้ผิวน้ำทั้งนี้เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำ 
จากนั้นแช่ผักทิ้งไว้ในน้ำเย็นสักพัก  ผักจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง น่ารับประทาน




ต้มผักอย่างไร ให้มีสีสันน่าทาน

จะเข้าครัวทำน้ำพริกผักต้ม แต่ต้มผักทีไรประสบปัญหาสีของผักไม่สวยสดน่าทานเหมือนอย่างไปทานที่ร้านอาหารทุกที โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เมนูอาหารสุขภาพกำลังเป็นที่นิยม หากผักต้มแล้วสีหมองคล้ำ ก็จะทำให้ความน่ารับประทานลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ด้วยเคล็ดลับในการต้มผักให้ดูมีสีสันน่าทานดังนี้ค่ะ





วิธีที่จะทำให้ผักต้มมีสีสวยงาม คือ นำน้ำสะอาดใส่ในหม้อ กะปริมาณดูว่าพอใส่ผักลงต้มแล้วน้ำจะพอท่วมผักได้ ใส่เกลือป่นลงในน้ำ สำหรับต้มผักสีเขียว ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย จะทำให้ผักมีผิวมันน่าทานยิ่งขึ้น พอน้ำเดือดค่อยใส่ผักลงต้ม กดผักให้จมน้ำ พอผักสุก ให้ช้อนขึ้นจากน้ำ ใส่ในน้ำเย็นพักไว้จนสะเด็ดน้ำ และจัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ ส่วนผักสีขาว เช่น หัวไชเท้า ถ้าอยากให้ผักมีสีขาวสวย ให้ใส่น้ำส้มสายชูลงในน้ำที่ต้ม ผักจะมีสีขาวสวย 
ได้ไม่ยากค่ะ

เข้าครัวต้มผักคราวหน้า อย่าลืมนำเคล็ดลับการต้มผักให้สีสันสวยสดไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ 
เพราะนอกจากรสชาติของอาหารแล้ว สีสันของอาหารจะช่วยให้อาหารจานนั้นดูน่ารับประทานยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณรูปและข้อมูลจาก
http://board.postjung.com/m/573403.html

http://www.cpfamilyclub.com/index.php/lifestyle/portal/content/20602








read more

Tuesday 23 October 2012

แกงขี้เหล็กเห็ดย่าง แกงเห็ด กินแล้วไม่เซ็งเป็ด

แกงขี้เหล็กเห็ดย่าง


 จบไปแล้วสำหรับเทศกาลกินเจ พรุ่งนี้ก็ขอกินเนื้อหน่อย แต่ก็ยังไว้ลายรักษาสุขภาพอยู่(ชีวจิต)  รสเผ็ดร้อนนิดๆ ขมหน่อยๆ แบบรักสุขภาพกันด้วยเมนูนี้


ส่วนผสม (ingrediant)

ขี้เหล็กต้ม บีบน้ำออก 500 g
น้ำพริกแกงเผ็ด 100 g
กระชายซอย 100 g
ปลากรอบ(เอาแต่เนื้อปลา) 100 g
เห็ดออรินจิ 6 ดอก
น้ำเต้าหู้ 5 ถ้วย
น้ำปลา 1/4 ถ้วย
น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันมะกอก 1/4 ถ้วย
ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย



ภาพจาก http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=561.705


ขั้นตอนการทำ

1.หั่นเห็ดออรินจิเป็นชิ้นยาว หนาซัก 1 ซม.
2.เหยาะซีอิ๊วขาวลงบนเห็ด คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปย่างบนกะทะจนสุก ตักขึ้น หั่นเป็นชิ้นพอ
ดีคำ
3.โขลกปลากรอบจนปลาเนื้อฟู ใส่น้ำพริกแกงลงไปโขลกผสมกันดี
4.ผัดน้ำพริกแกงที่โขลกไว้กันน้ำมันมะกอก จนหอม
5.ใส่น้ำเต้าหู้ลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปึก
6.ใส่ขี้เหล็กและเห็ดย่าง รอเดือด ใส่กระชายลงไป คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อสักพัก ปิดไฟ ตักใส่ถ้วย
tip 1.สำหรับคนไม่ชอบกินขี้เหล็กขม ควรตักขี้เหล็กทิ้งน้ำหลายๆครั้ง หรือเวลาต้มให้ใส่ใบ
มะม่วงหิมพานต์ แก่รองก้นหม้อ ก็จะช่วยให้ขี้เหล็กหายขมเร็วขึ้น
2.การใส่เนื้อปลากรอบจะทำให้แกงมีกลิ่นหอมมากกว่าการใส่เนื้อปลาย่าง

กินอร่อย แถมมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้นอนหลับง่าย
ขอบคุณข้อมูลจากครัวชีวจิตอีกเช่นเคยครับ






read more

มังสวิรัติ-เทโพเต้าหู้ ไม่มีหมูมากวนใจ

แกงเทโพเต้าหู้(มังสวิรัติ)

ช่วงนี้หายหน้าไปนานครับ ติดภารกิจอยู่ เห็นว่าก็ยังอยู่ในเทศกาลกินเจ ผมก็เลยนำสูตรอาหารมังสวิรัตมาฝาก
ส่วนประกอบ (ingredient)
  1. พริกแห้ง,หอม
  2. กระเทียม
  3. ตะไคร้
  4. ผิวมะกรูด
  5. ลูกผักชี
  6. เกลือ
  7. ส้มมะขามเปียก
  8. เต้าหู้เหลืองชนิดแข็ง
  9. ซีอิ๊วขาว,ใบมะกรูด
  10. มะพร้าวขูด
  11. น้ำตาล

    แกงเทโพหม


การปรุง

1.เริ่มจากโขลกเครื่องพริกแกง ผัดกับกะทิให้แตกมัน
2.ใส่เต้าหู้ ผักบุ้ง ใบมะกรูด 1 ผลปอกเปลือกออกให้หมด ผ่าออก คั้นกับเกลือให้หมดกลิ่น แล้วนำไปใส่ในแกง ฉีกใบมะกรูดอ่อนใส่ เติมกะทิพอเดือด
3.จากนั้นปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว น้ำตล น้ำมะกรูด น้ำส้มมะขาม ปรุงรสตามชอบเป็นอันเสร็จกระบวนการ

รูปจาก
http://www.kingdomplaza.com/article/food/news.php?nid=597


ช่วงนี้มีงานสัปดาห์หนังสือ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ( 18 -28 ตุลาคม 2555) Book Expo 2012 ใครสนใจได้หนังสือดี ก็ไปดูกันได้ ขอขอบคุณหนังสือทั้งหลายที่เป็นแหล่งข้อมูลให้ blog นี้นนะครับ








read more