ข้อเสนอพิเศษ ลองดู

Tuesday 21 June 2011

มาดูแนวโน้ม ของ ขนมจีน ในประเทศไทย - กราฟแสดงจาก Google trend

ดูภาพกราฟที่แสดง เราพอจะมองได้ว่า ขนมจีน จะถูกเอ่ยถึง หรือ ต้องการบริโภค ขนมจีน เป็นอย่างมาก ซึ่งอยู่ในช่วงปลายปี หรือยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกา-ธันวาคม ของทุกๆปี

และพอจะมองได้ว่า อินเตอร์เน็ตช่วงนั้น คำว่าขนมจีน ถูกค้นหาผ่านอินเตอร์เน็ต ได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างมากในปี 2007 หรือในปี 2551 นั้นเอง



และผลการค้นหาจพุ่งสูงขึ้นนั้นไม่ได้หมายความ คนอื่นๆเค้าจะค้นหาเพราะว่าอยากกินขนมจีนเสมอไป แต่เราพอจะคาดการณ์ได้ว่า
ขนมจีน จะส่งอิทธิพลของมันในช่วงปลายปีอย่างแน่นอน

ที่มา : Google Trend
read more

Sunday 19 June 2011

มี​อะไร? ใน​ขนมจีน - สถาน​ที่​ผลิต​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ไม่​ควร​มอง​ข้าม

ขนมจีน ดั้งเดิม​เป็น​อาหาร​ของ​ชาว​มอญ​ที่​เรียก​ว่า ค​หน​อม​จีน เรียก​กัน​ผิดเพี้ยน​จน​มา​เป็น​ขนมจีน​ใน​ปัจจุบัน ขนมจีน​ที่​เรา​กิน​กัน​อยู่​นี้​มี 2 ชนิด คือ ขนมจีน​แป้ง​หมัก​และ​ขนมจีน​แป้ง​สด ซึ่ง​ต่าง​กัน​ตรง​ที่​กรรมวิธี​การ​ทำ​และ​สี​ของ​เส้น​ขนมจีน สำหรับ​ชนิด​ที่​ได้​รับ​ความ​นิยม เห็นจะ​เป็น​ขนมจีน​แป้ง​สด เพราะ​ไม่​ต้อง​เสีย​เวลา​หมัก​แป้ง แค่​นวด​ให้​พอได้​ที่​แล้ว​นำ​มา​ใส่​ที่​บีบ​เส้น​บีบ​ลง​ใน​น้ำ​ร้อน หลังจาก​นั้น​จับเป็น​จับ หรือ​เป็น​หัวๆ ก็​กิน​พร้อม​กับ​น้ำยา​และ​แกง​ประเภท​ต่างๆได้​ทันที สุด​แล้วแต่​รสนิยม​ว่า​ใคร​ชื่น​ชอบ​รสชาติ​และ​อาหาร​ประเภท​ไหน

หาก​ลอง​นึก​ภาพ กระบวนการ​ทำ​ขนมจีน​ตั้งแต่​เริ่ม​แรก​แล้ว​จะ​เห็น​ภาพ​ว่า​ผู้​ผลิต​ต้อง​ใช้​มือ​สัมผัส​ทั้ง​กับ​แป้ง​และ​เส้น​ของ​ขนมจีน​โดย​ตรง ความ​สะอาด​และ​ความ​ปลอดภัย​ของ​ผู้​บริโภค​อย่าง​เราๆ จึง​อยู่​ที่​ตรง​นี้

นอกจาก​นี้ การ​ผลิต​ขนมจีน​ยัง​ต้อง​ใช้​น้ำ​เพื่อ​การ​จับ​ตัว​เป็น​เส้น​ขนมจีน​อีก​ด้วย ฉะนั้น​คุณภาพ​ของ​น้ำ​ที่​ใช้​จึง​เป็น​สิ่ง​สำคัญ



นอกจาก​นี้​ สถาน​ที่​ผลิต​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ไม่​ควร​มอง​ข้าม เพราะ​ตาม​หลัก​สุขาภิบาล​ที่​ดีแล้ว สถาน​ที่​ผลิต​ต้อง​แยก​ออก​จาก​ส่วน​ที่​พัก​อาศัย​อย่าง​ชัดเจน ไม่​อย่าง​นั้น​สิ่ง​ปน​เปื้อน​หรือ​เชื้อโรค​ต่างๆ เช่น อี.โค​ไล และ โค​ลิ​ฟอร์ม จะ​มี​โอกาส​ปน​เปื้อน​ใน​ขนมจีน​ที่​ผลิต​สูง​ตาม​ไป​ด้วย

เมื่อ​ร่างกายได้​รับ​เชื้อ​นี้​เข้าไป จะ​ทำให้​ท้องเสีย​และ​ท้องร่วง​ได้​โดย​ง่าย

ดังนั้น สังเกต​ดู​สภาพ​ของ​เส้น​ขนมจีน​ว่า​มี​สิ่ง​ใด​ปะปน​มา​ด้วย​หรือ​ไม่ สี​ของ​เส้น​ขนมจีน​ผิดเพี้ยน​ไป​จาก​เดิม มี​กลิ่น​เหม็น​ผิด​ปกติ​ไป​จาก​ที่​เคย​เห็น​หรือ​ไม่



วัน​นี้ คอลัมน์​มัน​มา​กับ​อาหารเอาใจ​คน​ชอบ​ขนมจีน ด้วย​การ​สุ่มตัวอย่าง​ขนมจีน​จาก​ย่าน​การ​ค้าจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อ​วิเคราะห์​หา​การ​ปน​เปื้อน​ของ​เชื้อ อี.โค​ไล และ โค​ลิ​ฟอร์ม

ผล​ที่​ได้​พบ โค​ลิ​ฟอร์ม ปน​เปื้อน 1 ตัวอย่าง แต่​ยัง​ไม่​เกิน​มาตรฐาน​ของ​กระทรวง​สาธารณสุข

นับ​เป็น​เรื่อง​ดี ที่​ผู้​ผลิต​เอาใจใส่​ต่อ​ผู้​บริโภค รักษา​ความ​สะอาด​ส่วนตัว เพื่อ​ความ​ปลอดภัย​ของ​ส่วนรวม.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/column/life/fromfood/170928
read more

Saturday 18 June 2011

ขนมจีน น้ำยาปลาทูน่า (จาก Facebook janpimyada) - ทานของอร่อยที่เราทำเอง

ขนมจีนน้ำยาปลาทูน่า


เดี๋ยวนี้จะหาขนมจีนน้ำยากะทิอร่อยๆ หายากเต็มทีค่ะ ประเภทน้ำยาปลาช่อนที่มีไข่ปลาลอยหน้าหม้อน้ำยาเป็นแพแบบในงานบุญสมัยก่อนนั้น เห็นจะไม่มีแล้วหละค่ะ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะราคาปลาช่อนที่แพงเกิน กิโลละร้อยไปแล้ว ขั้นตอนที่ซับซ้อน หรือ จะเป็นอีกร้อยแปดเหตุผล ก็ช่างเถอะค่ะ วันนี้เรามาทำน้ายากะทิแบบลดขั้นตอนทานกันเอง ดีกว่า



แจนแนะนำนะคะ เป็นน้ำยาปลาทูน่ากระป๋อง 

เพราะไม่ต้องต้มหรือแกะเนื้อปลาให้ยุ่งยากอีก 




เครื่องปรุง

1. ปลาทูน่าในน้ามันพืช 1 กระป๋อง
2. กะทิคั้นสด 1 กิโล
3. พริกแกงแดง 2 ขีด
4. กระชาย ปรมาน 10 ราก/ผิวมะกรูด/กระเทียมไทยแกะเปลือก
5. ลูกชิ้นปลาอย่างดีตามชอบ / หรือจะเป็นตีน(เท้า)ไก่ ก็ได้ค่ะถ้าชอบ
5. เครื่องปรุงรส น้ำตาลปี๊บ เกลือ น้ำปลาดี
6. เครื่องเคียง - ถั่วงอกลวก/ลวก - ใบแมงลัก - ถั่วฝักยาว หรือผักสดตามชอบ
7. ขนมจีน


ลงมือกันเลย

1. เตรียมเครื่องแกง
   1.1 ตำผิวมะกรูด กับ กระเทียมให้ละเอียด
   1.2 ขูดผิวกระชาย หั่นเป็นท่อนเล็กๆ แล้วโขลกให้ละเอียด
   1.3 ใส่พริกแกงแดงลงไป ในครกแล้วผสมเครื่องแกงทั้งหมดด้วยกัน โขลกต่อให้ผสมละเอียด ดี

2. เทปลาทูน่าออกจากกระป๋อง เก็บน้ามันไว้ เอาแต่เนื้อปลา โขลกรวมกับพริกแกงให้เป็นเนื้อเดียวกัน

3. ตั้งกะทิบนไฟอ่อนๆ ผสมเครื่องแกงทั้งหมดลงไป พร้อมน้ำมันปลาทูน่า เคี่ยวต่อจนเดือดปุดๆ

4. ใส่ลูกชิ้นปลาลงไป เคียวต่ออีกซักพัก (ถ้าชอบตีนไก่ ก็ให้ซื้อที่เท้าอวบๆ เอามาทำความสะอาดตัดเล็บ
ให้เรียบร้อย แล้วต้มเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ โยนตะไคร้ทุบลงไปซัก 2 ต้น เคี่ยวทิ้งไว้ซัก 30-40นาที ก็จะได้ตีนไก่เปื่อยนุ่ม ไม่แตกเละแบบที่ใช้ไฟแรงๆต้ม)

5. ปรุงรสด้วย น้ำปลาดี เกลือ น้ำตาลปี๊บ ให้เค็มปะแล่มหวานกะทิ

6. เสิร์ฟได้แล้วค่ะ


ปลาทูน่า กระป๋องเดียว แต่เวลาทำออกมาแล้วได้น้ายากะทิหม้อย่อมๆ พอทานได้ 4-5คนเลยนะคะ เหมาะที่จะทำทานกันวันหยุด ในครอบครัวหรือในกลุ่มเพื่อน ช่วยกันหยิบนั่นนี่ แป๊บเดียวก็เสร็จ ได้ทานของอร่อยที่เราทำเอง ภูมิใจด้วยค่ะ
เรื่องและภาพโดย: แจน พิมยาดา


ที่มา : http://www.facebook.com/janpimyada
ที่มา : http://twitter.com/starfishQ9
read more

Friday 17 June 2011

ขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ชาวมอญ (Postoday)- ร้านดังประจำสะพานมอญ

สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ วันนี้ผมประเดิมปีใหม่ด้วยการพาไปตะลอนชิมแถวๆ ชายแดนไทยพม่า ที่สะพานมอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

เพื่อไปชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วยอาหารขึ้นชื่อของชาวมอญที่มีมาช้านาน และไม่ได้หารับประทานได้ง่ายนักในกรุงเทพฯ นอกจากวันดีคืนดีมีงานบุญของชาวมอญ เราอาจจะได้เห็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ทำขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วยให้ได้รับประทานกัน



ถ้าหาไม่ได้ละก็ ผมขอแนะนำให้เดินทางไปสะพานมอญเพื่อเที่ยวชมสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ไปชมวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญ และทิวทัศน์ ของสามประสบ ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกันคือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำรันตี และแม่น้ำบีคลี่

การเดินทางมาค่อนข้างลำบากนิดหน่อยแนะนำว่าจัดทริปเที่ยวสัก 2 คืนไม่งั้นมีเหนื่อย ถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวแต่ที่กาญจนบุรีกลางวันจะร้อนถึงร้อนมาก กลางคืนหนาวถึงหนาวจัด แค่คิดก็ครั่นเนื้อครั่นตัวพานจะเป็นหวัดแล้วครับ เข้ามาที่ร้านป้าหยิน


ขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วยที่ผมจะมาแนะนำกันดีกว่า ร้านนี้ตั้งอยู่ทางเข้าสะพานมอญฝั่งตลาดมอญ หาไม่ยากครับเดินไปที่สะพานเจอทันที คนแถวนั้นรู้จักหมดเป็นร้านดังประจำสะพานมอญ


ว่าแล้วก็ไม่รอช้าสั่งขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วยมาชิมกันทันที ไม่นานนักขนมจีนพร้อมเครื่องเคียงก็มาวางเรียงกันอยู่ตรงหน้าพร้อมเครื่องปรุงให้จำนวนหนึ่ง บีบมะนาว ใส่ผักตามอัธยาศัย คลุกให้เข้ากันแล้วก็เริ่มชิมไปปรุงไป รสชาตินั้นอร่อยเหมือนขนมจีนน้ำยาที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อาจจะมีกลิ่นและรสชาติที่ผิดแผกกันออกไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วถือว่าอร่อยใช้ได้เลยครับ

ยิ่งรับประทานกับไข่ต้มแล้วยิ่งเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้นเสียดายอย่างเดียวที่ไม่ได้เป็นไข่ต้มยางมะตูมเท่านั้นเองครับ เบ็ดเสร็จงานนี้เสียค่าขนมจีนไปเพียงจานละ 20 บาทเท่านั้น ไข่ต้มฟองละ 5 บาท เมนูอื่นๆ ของร้านก็มีโจ๊กเป็นอาหารเช้าขึ้นชื่อของที่นี่เหมือนกัน

รวมแล้วนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าเดินเที่ยวยามเช้าอย่างยิ่ง มีข้อแม้เดียวคือจะต้องตื่นแต่เช้า ถ้าต้องการถ่ายภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้น หรือทำบุญตักบาตร เก็บภาพสวยๆ ของสะพานมอญที่เริ่มเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เดินไปจนสุดปลายฝั่งอีกด้านเพื่อรับประทานอาหารเช้าอร่อยๆ อย่างร้านป้าหยิน หรือจะเป็นร้านอื่นๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน เท่านี้ก็คงพอให้เราได้หายเหนื่อยพร้อมรับปีใหม่ฟ้าใสอย่างแน่นอน


ที่มา : http://www.posttoday.com/magazine.php?id=83317

read more

ขนมจีน น้ำยาหยวก แบบ ชาวมอญ

ขนมจีนน้ำยาหยวก

เครื่องปรุง / ส่วนผส
๑. หยวกกล้วย (ส่วนที่อ่อนของต้นกล้วย)
๒. ปลาช่อน หรือปลายี่สก
๓. เกลือ  
๔. ขิง                    
๕. กระชาย              
๖. ตะไคร้
๗. หอมแดง
๘. กะปิมอญ
๙. น้ำมันพืช
๑๐. ขนมจีน



ขั้นตอน / วิธีทำ

๑. หั่นต้นกล้วยอ่อนเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่ในน้ำเกลือ
๒. นำขิง กระชาย กะปิ ผงชูรส เกลือ โขลกละเอียด
๓. ผ่าหัวหอมแดงเป็นชิ้น (หอมแดง ๑ หัว ผ่า ๔ ชิ้น)
๔. ต้มปลาทั้งตัว แกะเอาแต่เนื้อ แล้วนำไปคั่วให้แห้ง
๕. ตั้งหม้อบนเตา ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย  ใส่หัวหอมแดงที่หั่นชิ้นคั่วไปมา ใส่ต้นกล้วยอ่อนแล้วคั่วให้เข้ากัน ใส่น้ำพอประมาณ ใสเครื่องแกงที่โขลกไว้ ใส่เนื้อปลาคั่ว ใส่ตะไคร้ทั้งต้น โดยมัดรวมกันทั้งต้นแล้วทุบให้แหลกนิดหน่อย
๖. ปรุงรสเพิ่มเติมได้  เดือดแล้วยกลง

  ในการรับประทานขนมจีนน้ำยาหยวก จะมีเครื่องปรุงรสและเครื่องเคียง ซึ่งผู้บริโภคจะเติมหรือไม่เติมก็ได้ มีดังนี้
๑. น้ำมะขาม
๒. กระเทียมเจียว
๓. พริกแห้งทอด (เป็นเม็ด)
๔. ผักชี/ผักชีผรั่ง
๕. ถั่วฝักยาว
๖. ถั่วทอดพม่า (ถั่วเหลืองเม็ดใหญ่)
๗. ไข่ต้ม


เทคนิคในการทำ (เคล็ดลับ)
๑. ต้นกล้วยอ่อน (หยวกกล้วย) หั่นและแช่ในน้ำเกลือ เพื่อให้นิ่ม และไม่คันคอเมื่อนำไปรับประทาน
๒. หัวหอมแดงใส่มาก ๆ จะอร่อย
๓. ปลานำไปคั่วให้แห้งจะทำให้ไม่เหม็นคาว
๔. ขนมจีนที่นิยมรับประทานจะเป็นขนมจีนแป้งหมัก
๕. ใช้กะปิมอญ เนื่องจากเป็นกะปิที่ทำมาจากปลาซิว ไม่มีกลิ่น มีสีดำคล้ำ

บุคคลผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้าน
ชื่อ นางกัญจนา  เลิศอุดมหงส์   อายุ ๓๙  ปี
อาชีพ ค้าขาย และบริการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 
มีประสบการณ์ในการทำอาหาร ๒๑  ปี 
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๕๕๐ หมู่ ๒  ตำบลหนองลู 
อำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อร้านอาหาร อาหารมอญหน้าโรงพยาบาล 
จำหน่ายที่   หน้าโรงพยาบาลอำเภอสังขละบุรี
ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๔.๐๐ น. 
เบอร์โทรศัพท์/มือถือ   ๐๘๙-๘๓๗๗๓๓๖

ที่มาของอาหาร
ชาวไทยรามัญ (มอญ) อำเภอสังขละบุรี เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอาชีพทำไร่ ทำสวน และพืชที่ปลูกกันมาก คือ กล้วย เพราะปลูกง่าย และมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่า ที่เรียกว่า กล้วยป่า ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ดังนั้น ชาวไทยรามัญจึงนำต้นกล้วยอ่อนมาประกอบเป็นอาหารคาว เช่น แกงส้มหยวกกล้วย ยำหยวกกล้วย หยวกกล้วยต้มจิ้มน้ำพริก และน้ำยาหยวกกล้วย

ถดูที่นิยมกิน
ได้ตลอดทั้งปี

รสชาติ
รสชาดของน้ำยาหยวกจะมีรสจืด แต่เมื่อเติมเครื่องปรุงรสจะออกเปรี้ยว เผ็ด

คุณค่าโภชนาการ
ขนมจีนน้ำยาหยวกเป็นอาหารพื้นบ้านชาวไทยรามัญ (มอญ) อำเภอสังขละบุรี ที่ชาวบ้านนิยมรับประทานกันมาก ในด้านคุณค่าทางโภชนาการจะเห็นได้ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง ๕ หมู่ และในทางพฤกษาศาสตร์พบว่า หยวกกล้วยสามารถรักษาสุขภาพของร่างกายได้ คือ ล้างในระบบทางเดินอาหารกากและเส้นใยจะช่วยดูดซับไขมันในบริเวณลำไส้ ทำให้ไขมันดูดซึมสู่ร่างกายน้อย และช่วยไม่ให้ท้องผูก


ที่มา :  http://thaifood.m-culture.go.th/food.php?id=589&id_group=3
read more

Saturday 11 June 2011

"ขนมจีน ปักษ์ใต้" ไม่อั้นความอร่อย

ขนมจีน เป็นอีกเมนูที่มีความหลากหลาย จากน้ำยา น้ำพริก และแกงต่างๆที่เอาไว้กินคู่กัน มีให้เลือกทั้งแกงแบบทางเหนือ อีสาน กลาง และภาคใต้ แถมยังมีรสชาติความอร่อยที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
     
"ผ่านมาแวะกิน" ก็ชอบกินขนมจีนเหมือนกัน และก็ชอบกินไปเสียทุกแกง เรียกว่าเป็นที่ลำบากใจไปเสียทุกครั้งที่จะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามาที่ร้าน "ขนมจีนปักษ์ใต้" แห่งนี้แล้ว รับรองว่าได้กินทุกอย่าง เพราะร้านนี้เค้าเป็นขนมจีนแบบบุฟเฟ่ต์ ไม่ว่าจะน้ำยาหรือแกงแบบไหน ก็อร่อยได้จนเต็มอิ่ม



บรรยากาศภายในร้านขนมจีนปักษ์ใต้


ขนมจีนน้ำยากะทิ

ร้านนี้ตั้งอยู่ในซอยติวานนท์ 39 เป็นร้านของคุณนิกร เจริญสุข ที่ใช้พื้นที่บ้านของตัวเองมาเปิดเป็นร้านขนมจีนให้ได้นั่งกันสบายๆ โดยมีความตั้งใจที่จะบริการลูกค้าด้วยของที่มีคุณภาพ เพราะถือคติที่ว่าถ้าคนขายกินแบบไหน ลูกค้าก็จะได้กินแบบนั้น
     
มาว่ากันถึงเรื่องบุฟเฟ่ต์ของที่นี่ เค้าขายกันในราคาเพียง 30 บาทต่อคนเท่านั้น แถมด้วยผักเครื่องเคียงที่มีให้เลือกหลายชนิด แต่ถ้าอยากจะเพิ่มความอร่อยด้วยไข่ต้ม (ฟองละ 5 บาท) ก็ได้เช่นกัน เส้นขนมจีนที่ทางร้านใช้ ก็เป็นเส้นขนมจีนหมัก ส่วนน้ำยาก็มีให้คือ น้ำยากะทิ น้ำพริก แกงเขียวหวานไก่ แกงไตปลา และน้ำยาป่า ซึ่งทำใหม่ๆ ทุกวัน เวลาขายก็จะใส่ไว้ในหม้อดินที่อุ่นด้วยเตาถ่านให้ร้อนตลอดเวลา

ขนมจีนแกงเขียวหวานไก่

เรามาเริ่มชิม น้ำยากะทิ กันก่อน จานนี้ใช้พริกแกงเผ็ดของทางใต้มาโขลก เพิ่มด้วยกระเทียม กระชาย กะปิ จากนั้นก็ใส่เนื้อปลาทับทิมต้มสุกเพื่อให้น้ำยาข้นขึ้น นำไปเคี่ยวกับกะทิจนเดือด ปรุงรส แล้วใส่ลูกชิ้นปลาอย่างดี ชิมแล้วรสชาติกลมกล่อม หอมเครื่องแกง
     
ต่อกันด้วย แกงเขียวหวานไก่ ที่ใช้เครื่องแกงเขียวหวานมาเพิ่มรสชาติด้วยกระเทียม และพริกขี้หนูสด นำมาเคี่ยวกับกะทิ แล้วใส่เลือด และไก่ ต้มจนสุก จากนั้นใส่ยอดมะพร้าว เพิ่มหัวกะทิ ปรุงให้ได้รสชาติ จากนั้นโรยหน้าด้วยพริกชี้ฟ้าแดงและใบโหระพา แกงเขียวหวานหอมมัน ออกรสเผ็ดเล็กน้อย กินได้กินดีไม่มีเบื่อ

ขนมจีนแกงไตปลา

       แล้วมาปิดท้ายด้วย แกงไตปลา รสเข้มข้น ใช้พริกแกงเผ็ดใต้มาเติมกระเทียม กะปิ ปั่นให้ละเอียด แล้วนำขึ้นตั้งไฟกับน้ำสะอาด ใส่ไตปลา เนื้อปลาโอย่าง เคี่ยวให้เข้ากัน ใส่ผักต่างๆ แล้วปรุงรส แกงไตปลารสชาติจัดจ้าน เข้มข้น หอมอร่อย แต่ก็ไม่เผ็ดมากเกินไป
     
แต่ถ้ายังไม่อิ่มดี ก็ยังมี น้ำพริก และ น้ำยาป่า ที่รสชาติเด็ดไม่แพ้กันไว้ให้ลองชิมกันอีกด้วย "ผ่านมาแวะกิน" ขอแนะนำเลยว่า ถ้าอยากจะมากินให้โทรมาถามทางร้านก่อนว่าหมดหรือยัง หรือจะโทรมาจองที่ก่อนก็ได้ เพราะของดีมีน้อย ไม่อย่างนั้นอาจจะมาเสียเที่ยว ไม่ได้ลิ้มรสขนมจีนอร่อยๆ ของร้าน"ขนมจีนปักษ์ใต้" ก็เป็นได้
     
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
ร้าน "ขนมจีนปักษ์ใต้" ตั้งอยู่เลขที่ 1 ซ.ติวานนท์ 39 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี การเดินทาง จากแยกแครายวิ่งตรงมาตาม ถ.ติวานนท์ มุ่งหน้าสู่ปากเกร็ด วิ่งผ่านสามแยกสนามบินน้ำ จนมาถึงโรงงานโตชิบ้า ให้ชิดซ้าย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ซ.ติวานนท์ 39 แล้วขับเลาะกำแพงโรงงานไปเรื่อยๆ จะเห็นร้านอยู่ทางซ้ายมือ จอดรถได้บริเวณหน้าร้าน ทางร้านรับจัดงานทั้งในและนอกสถานที่ ร้านเปิดจันทร์ - ศุกร์ (หยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 7.00 - 12.00 น. โทร. 08-1495-1093 

รายละเอียดและแผนที่การเดินทางไปยังร้าน “ขนมจีนปักษ์ใต้”



 ชื่อร้าน : ขนมจีนปักษ์ใต้
       
       ประเภทอาหาร : บุฟเฟ่ต์ขนมจีน
       
       เมนูจานเด่น : ขนมจีนน้ำยากะทิ ขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ ขนมจีนแกงไตปลา
       
       บรรยากาศร้าน : โปร่ง สบาย เหมือนกินข้าวที่บ้าน
     
       ที่ตั้ง และการเดินทาง : ตั้งอยู่เลขที่ 1 ซ.ติวานนท์ 39 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี การเดินทาง จากแยกแครายวิ่งตรงมาตาม ถ.ติวานนท์ มุ่งหน้าสู่ปากเกร็ด วิ่งผ่านสามแยกสนามบินน้ำ จนมาถึงโรงงานโตชิบ้า ให้ชิดซ้าย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ซ.ติวานนท์ 39 แล้วขับเลาะกำแพงโรงงานไปเรื่อยๆ จะเห็นร้านอยู่ทางซ้ายมือ
     
       เวลาเปิด-ปิด : เปิดจันทร์ - ศุกร์ (หยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 7.00 - 12.00 น.
       
       เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 08-1495-1093

ที่มา : http://202.57.155.201/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000116077
read more

หมักแป้ง ขนมจีน สำเร็จเพียงวันเดียว สูตรเด็ดจากนักวิจัยมทร.ธัญบุรี

หลายคนอาจไม่ทราบว่ากว่าจะได้ขนมจีน มารับประทานกับน้ำยาแสนอร่อย และยังเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วทุกภูมิภาคนั้นต้องผ่านกระบวนการทำหลายขั้นตอน แม้ปัจจุบันจะมีการใช้เครื่องจักรเข้าช่วยแต่ก็ยังมีกระบวนการที่ต้องใช้เวลาในการหมักแป้ง 2-3 วันอยู่ดี ซึ่งถ้าหากจะให้สะดวกและทันการการบริโภคยังนับว่าใช้เวลามาก อีกทั้ง ระหว่างการผลิต ยังมีน้ำทิ้งที่มีความเป็นกรดออกมามากทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งคุณภาพของขนมจีนที่ได้อาจจะเปลี่ยนไปตามปัจจัยที่ส่งผลในแต่ละครั้งในการทำ ไม่สามารถควบคุมได้





จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ “ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์” นักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ไปคว้ารางวัล เหรียญเงิน จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรี ในงาน Korea International Women’s Invention Exposition 2010(KIVIE2010) ณ แปซิฟิคฮอลล์ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้





จากงานวิจัย การผลิตขนมจีนแป้งหมักโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด ซึ่งการวิจัยชิ้นนี้สามารถแก้ปันหาที่กล่าวมาข้างต้นอย่างได้จนเป็นผลสำเร็จดร.อรวัลภ์ เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้ สามารถแก้ปัญหาได้ถึงสามส่วนคือ สามารถลดระยะเวลาในการผลิต ลดปริมาณน้ำเสียจากกระบวนการผลิต และสามารถความคุมระบบการผลิต ควบคุณคุณภาพของขนมจีนได้




ขั้นตอนการทำขนมจีนโดยทั่วไป เริ่มจาก เตรียมข้าวเหนียว(หัก)มาล้างทำความสะอาด แช่น้ำ 6 ชม. แล้วนำไปโม่เปียก พอได้แป้งน้ำ นำไปหมักที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นนำไปทับน้ำ เหลือก้อนแป้งที่มีความชื้น ประมาณร้อยละ50-55 แล้วนำก้อนแป้งที่ได้ไปนึ่งเป็นเวลา 30 นาที นำไปนวดให้ได้ที่แล้วนำไปโรยเส้น เป็นขนมจีน ซึ่งการลดระยะเวลาการผลิต จากปกติการหมักแป้งต้องใช้เวลา2-3 วัน ให้เหลือแค่ 1 วัน ซึ่งในกระบวนการนี้ จะมีการ คัดกล้าเชื้อเพื่อช่วยในการย่อยแป้ง เป็นกล้าเชื้อในกลุ่ม Lactobacillus plantarum กล้าเชื้อที่เติมลงไปมีคุณสมบัติช่วยให้ย่อยแป้งเร็วขึ้น ซึ่งจัดเป็นเทคโนโลยีสะอาดที่ช่วยในการพัฒนาการผลิต เช่นเดียวกับการผลิตโยเกิรต์”
     




ส่วนการควบคุมคุณภาพ เนื่องจาก ในการหมักแป้งเกิดจากการหมักที่เติมกล้าเชื้อที่ได้คัดเลือกแล้วเพียงชนิดเดียว ทำให้ผู้ผลิตสามารถควบคุณคุณภาพได้
     
“การหมักแบบนี้ ไม่เหมือนกับการหมักแป้งโดยทั่วไปที่ทิ้งให้แป้งย่อยเองซึ่งเสี่ยงกับการปนเปื้อนกับเชื้อชนิดอื่น และอาจส่งผลกับคุณภาพไปด้วย และน้ำเสียระหว่างการผลิตก็ลดปริมาณการกรดลดลง ทำให้ลดปริมาณน้ำเสียจากกระบวนการผลิตลงได้นอกจากจะได้ประโยชน์กับมนุษย์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลกอีกด้วย” ดร.อลวัลภ์กล่าวสรุป


ที่มา :  http://61.19.246.214/~accout/direct/browse.php/Oi8vd3d3/Mi5tYW5h/Z2VyLmNv/LnRoL0Nh/bXB1cy9W/aWV3TmV3/cy5hc3B4/P05ld3NJ/RD05NTMw/MDAwMDkw/Mzgz/b5/
read more

ขนมจีน แสนสุข ยกระดับคุณภาพ ประกันสดใหม่เพียงอุ่นไมโครเวฟ

สถาพร ไพศาลบูรพา

เคยไหมที่ก่อนรับประทานขนมจีนต้องเตรียมใจกับอาการท้องเสียที่อาจจะเกิดขึ้น แต่หลายคนก็ขอยอมเสี่ยง เพราะขนมจีนถือเป็นอาหารประเภทเส้นที่ถูกปากคนไทยไม่ว่าจะนำไปรับประทานคู่กับแกง น้ำยา หรือสิ่งที่เข้ากันได้ดีที่สุดอย่างส้มตำ แล้วจะมีไหมหากจะมีขนมจีนที่รับประกันความสด สะอาด ระบุวันหมดอายุ ช่วยลดความเสี่ยงจากขนมจีนแป้งหมักที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าขณะที่เรารับประทานขนมจีนนั้นผ่านการหมักมากี่วันแล้ว





ขนมจีนแบบซอง สำหรับรับประทาน 1 คน อุ่นเตาไมโครเวฟเพียง 1 นาที

จากจุดนี้เองทำให้โรงงานผู้ผลิตแป้งข้าวจ้าว และแป้งข้าวเหนียว ตราหมีคู่ดาว ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 30 ปี คิดเพิ่มมูลค่าแป้งจากโรงงานของตนเอง มาผลิตอาหารที่มีคุณภาพให้คนไทยได้บริโภค ประกอบกับที่ผ่านมาตลาดแป้งหลักๆ จะถูกแชร์ไปกับแป้งสาลีที่ใช้ทำขนมและเบเกอรี่ ส่วนแป้งข้าวจ้าว จะถูกนำไปทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการหลายรายผลิตกันเป็นจำนวนมาก



ขนมจีน บรรจุลงกล่องสำหรับรับประทาน 3-5 คน อุ่นเตาไมโครเวฟ 3 นาที

ทำให้ “สถาพร ไพศาลบูรพา” ผู้จัดการทั่วไป และทายาทธุรกิจตัดสินใจเปิดบริษัท สมายล์ มีล จำกัด ผลิตแป้งขนมจีน จากแป้งข้าวจ้าว หวังยกระดับคุณภาพอาหารให้คนไทยได้รับประทานเส้นขนมจีนที่ปราศจากกลิ่นเปรี้ยว สารกันบูด และได้รับประทานเส้นขนมจีนที่ขาว นุ่ม จากธรรมชาติ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาการเสาะท้องอีกต่อไปภายใต้แบรนด์ 'ขนมจีนแสนสุข'



เส้นเหนียวนุ่ม ไร้กลิ่นเปรี้ยว

“เรามองว่าเส้นขนมจีนที่เป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมานาน และคนไทยก็ชอบรับประทาน ทำไมไม่มีการการันตีเรื่องการผลิต และวันหมดอายุ ทั้งที่ๆ ประเทศไทยก็แหล่งผลิตอาหารคุณภาพส่งออกทั่วโลก แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับอาหารที่รับประทานกันในประเทศ เราจึงคิดนำแป้งของโรงงานเราเองมาผลิตเป็นเส้นขนมจีนที่ปราศจากสารกันบูด ไร้สารฟอกขาว ไม่มีกลิ่นเปรี้ยว และที่สำคัญไม่ทำให้เกิดอาหารเสาะท้อง ซึ่งเราใช้เวลาลองผิดลองถูกประมาณ 1 ปี ก็ได้เส้นขนมจีนพร้อมรับประทาน สามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาในอุณหภูมิ 4-7 องศาเซลเซียส ได้นาน 14 วัน เมื่อต้องการรับประทานเพียงนำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ 1-3 นาที ได้เส้นขนมจีนเหนียวนุ่ม”



ขนมจีนกับแกงเขียวหวาน เมนูที่ลงตัวถูกปากคนไทย

ขนมจีนแสนสุข ถือเป็นขนมจีนรายแรกในไทยที่ได้มาตรฐานการผลิต GMP พร้อมกับมีการระบุวันหมดอายุลงบนบรรจุภัณฑ์ทั้ง 2 แบบ คือ แบบซอง (12 บาท/ซอง) สำหรับรับประทาน 1 คน บรรจุในซองพลาสติกสามารถอุ่นในเตาไมโครเวฟเพียง 1 นาที และแบบถาด (35 บาท/ถาด) สำหรับรับประทาน 3-5 คน อุ่นในเตาไมโครเวฟ 3 นาที ซึ่งการทำให้ขนมจีนอยู่ในแพคเกจเพื่อรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าและอาหารตามซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่คิดแข่งผู้ผลิตขนมจีนขายส่งตามตลาดสด แต่หากลูกค้าที่ต้องการซื้อขนมจีนแสนสุขในปริมาณมากสามารถซื้อได้ที่โรงงานผลิตได้ ที่ต.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้ แต่เก็บได้เพียง 2 วันเท่านั้น



แป้งข้าวจ้าวของโรงงาน ตราหมีคู่ดาว ที่นำมาผลิตเป็นเส้นขนมจีน

“การที่เรานำขนมจีนใส่ลงในแพคเกจ ก็เพื่อการเก็บรักษาเส้นขนมจีนให้ยาวนานขึ้น รวมถึงเพื่อสะดวกต่อการรับประทานของลูกค้า ส่วนในเรื่องของราคาแม้จะสูงกว่าเส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดก็ตาม แต่ก็ถือว่าไม่มากนัก หากเทียบกับคุณภาพที่ผู้บริโภคจะได้รับ ซึ่งการตอบรับตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาถือว่าลูกค้าให้การตอบรับดี เหมือนกับลูกค้ารอขนมจีนในลักษณะนี้อยู่”

สำหรับตลาดส่งออกสถาพรคิดวางแผนจำหน่ายตลาดในเอเชียก่อน เนื่องจากเชื่อว่าเส้นขนมจีนประเทศเพื่อนบ้านก็รู้จักดี รวมถึงยังต่อยอดเป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย อย่าง ขนมจีนทอดกรอบ ใช้แทนข้าวตังหน้าตั้ง ขนมจีนเนื้อตุ๋น ขนมจีนหมูย่าง และขนมจีนยำทะเล แต่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาจจะทำออกมาในรูปของเส้นขนมจีนอบแห้งบรรจุในซองฟอยล์ และสามารถเก็บรักษาได้ 1 ปี ปัจจุบันขนมจีนบ้านแสนสุข มีจำหน่ายที่ ท็อปส์ มาร์เก็ต, วิลลา มาร์เก็ต และเลมอน ฟาร์ม

อนาคตทางบริษัทฯ จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง เน้นอาหารสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ สมายล์ มีล หวังให้คนไทยมีความสุขในการรับประทานอาหาร โดยเจาะตลาดในประเทศก่อน เพื่อให้คนไทยได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพสมกับที่ประเทศไทยจะเป็นครัวของโลกในอนาคต

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

***ติดต่อ 08-1875-6306, 0-3839-1503***

ที่มา : http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9540000066388
read more

Friday 10 June 2011

เปิดตำนาน ขนมจีน ไทยยอดนิยม

ขนมจีนเป็นอาหารไทยพื้นบ้านที่มีทุกภาคทุกท้องถิ่น เส้นขนมจีนคือแป้งข้าวที่นำมาทำเป็นเส้นด้วยภูมิปัญญาคนไทยและคนเอเชียอื่น เพราะเส้นขนมจีนมีทั้งในลาว เขมร พม่า เวียดนาม จีนและไทย คนอีสานในไทยและคนลาวเรียกขนมจีนว่า ข้าวปุ้น คนเหนือเรียก ขนมเส้น คนภาคกลาง ภาคใต้ และคนภาคตะวันออกเรียก ขนมจีน ส่วนชื่อขนมจีนนั้น ปรากฏว่าไม่มีความเกี่ยวพันกับความเป็น"ขนม"หรือคำว่า "จีน" เลย




วิถีการกินขนมจีน
การกินขนมจีนของคนไทยแต่ละภาคนั้นมีความหลากหลายแตกต่างกัน ส่วนใหญ่อยู่ที่น้ำแกงที่ราดบนเส้นขนมจีน ที่มีทั้งน้ำยา และแกงเผ็ดต่างๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังต่างกันที่ผักเครื่องเคียงที่กินที่กินกับขนมจีนอีกด้วย

ขนมจีนภาคกลางค่อนข้างหลากหลายมีทั้งน้ำยาและแกงเผ็ดต่างๆ น้ำยาภาคกลางเน้นใส่กะทิ รสกลมกล่อม ไม่เผ็ดจัด มีกลิ่นหอมของกระชายโดดเด่น นอกจากนั้นยังมีขนมจีนน้ำพริก น้ำยาป่า แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน และขนมจีนซาวน้ำ

ขนมจีนน้ำยา คนภาคกลางนิยมกินน้ำยากะทิ ส่วนใหญ่ใช้ปลาช่อน สมันก่อนชาวบ้านต่างจังหวัดจะใช้ปลากาซึ่งเป็นปลาน้ำจืด ตัวสีดำ เนื้อมีความมันหวานเป็นพิเศษ ทำน้ำยาได้อร่อยนัก การทำน้ำยาโบราณจะนำเครื่องแกงที่มีทั้งข่า ตะไคร้ กระชาย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม มาต้มกับเนื้อปลา และตักเครื่องแกงขึ้นโขลกจนละเอียด นำปลากุเลาหรือปลาอินทรีมาปิ้งไฟจนหอม แกะเนื้อโขลกรวมกับเนื้อปลาช่อน การโขลกทำให้เนื้อปลาฟูเป็นปุย ดูดซับน้ำกะทิได้ดี เมื่อโขลกเสร็จให้นำไปละลายในหม้อ นำหัวกะทิตั้งไฟ ต้องหมั่นคนไม่ให้น้ำยานอนก้นเพราะจะทำให้ไหม้ก้นหม้อ ปัจจุบันเน้นความสะดวกรวดเร็วนำเครื่องแกงไปปั่นรวมกับเนื้อปลา

ขนมจีนน้ำพริก เป็นอาหารในวัง รสชาติหวานเปรี้ยวและเค็ม ข้นด้วยถั่วเขียวเราะเปลือก เนื้อกุ้ง และถัวลิสงคั่ว น้ำยาจะใส่น้ำมะกรูดหรือน้ำส้มซ่าเพื่อให้มีกลิ่นหอม ใส่หอมเจียวและกระเทียมเจียว ลอยหน้าด้วยน้ำพริกสีแดง ขนมจีนน้ำพริกชาววังแบบครบเครื่อง จะต้องมีเครื่องเคียงทั้งผักสด ผักผัด ผักชุปแป้งทอด พริกแห้งทอด ทอดมันกรอบ(กุ้งฝอย) ทอดมันปลาหรือกุ้ง ไข่ต้ม แจงลอน ข้าวเม่า และกล้วยแขก ร้านที่ขายขนมจีนน้ำพริกในปัจจุบันคงหลือแต่ผักสด ผักลวก ผักทอด และไข่ต้ม ไว้กินเคียงเท่านั้น

ขนมจีนแกงเผ็ดและแกงเขียวหวาน ลักษณะแกงกะทิที่ดีนั้นเมื่อราดบนเส้นขนมจีนน้ำแกงต้องจับเส้น รสมันกลมกล่อมจากกะทิเผ็ดหอมจากเครื่องแกงและไม่ควรแตกมันมากเกินไป ขนมจีนแกงกะทิยังเป็นอาหารที่นิยมทำเลี้ยงกันในงานต่างๆอีกด้วย เพราะกินได้ทั้งกับขนมจีนและข้าวสวย ที่นิยมคือ แกงเผ็ดไก่ และแกงเขียวหวานต่างๆ เช่น แกงเขียวหวานไก่ ลูกชิ้นปลากราย หมู เนื้อ และเป็ด หากแกงกับเนื้อสัตว์ที่เนื้อมีความเหนียวเป็นพิเศษ เช่น ไก่บ้าน เนื้อเป็ด เนื้อวัว ควรนำมาเคี่ยวกับกะทิให้นุ่มก่อนแกง

ขนมจีนซาวน้ำนิยมกินในช่วงสงกรานต์เป็นอาหารคลายร้อน เพราะเครื่องเคล้าของขนมจีนซาวน้ำมีแต่ของสด เช่น สับปะรด ขิง พริกขี้หนู กระเทียม และมะนาว เวลากินราดด้วยหัวกะทิเคี่ยวเพิ่มความฉ่ำหวาน ใส่แจงลอน โรยกุ้งแห้งป่น ปรุงรสด้วยน้ำปลาพริก น้ำตาลทราย และน้ำมะนาว

ขนมจีนปักษ์ใต้ ขนมจีนเป็นอาหารเช้าของชาวใต้แถบชายฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ ระนอง พังงา สมุย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช กินแนมกับผักเหนาะกระจาดใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็มีปลาฉิ้งฉ้างด้วย บางท้องที่อย่างภูเก็ตจะกินกับห่อหมก ปาท่องโก๋ ส่วนที่ชุมพรนั้นกินขนมจีนเป็นมื้อเย็น กินกับทอดมันปลากราย ขนมจีนที่นครศรีธรรมราชมีเอกลักษณ์อยู่ที่ น้ำยา น้ำข้น มัน และหอมเครื่องแกง กินเป็นอาหารเช้าร่วมกับข้าวยำและข้าวแกงปักษ์ใต้

ขนมจีนน้ำยากะทิปักษ์ใต้มีสีเหลืองเพราะใส่ขมิ้น ไม่ใส่กระชายเหมือนภาคกลาง รสเผ็ดนำ ข้นหวานด้วยเนื้อปลา ปลาทะเลที่นิยมใช้ทำน้ำยาคือ ปลาแดง ปลาน้ำดอกไม้ ปลากระพง ปลาทูแขก ปลาตาหวาน เป็นต้น

ขนมจีนแกงไตปลาหรือเรียกอีกอย่างว่า แกงพุงปลา ทางภาคใต้จะแกงแบบไม่ใส่ผัก น้ำแกงข้นด้วยเนื้อปลาย่าง รสเผ็ดนำ บางแห่งจะใส่ส้มแขกหรือสับปะรดเพื่อให้มีรสเปรี้ยวอ่อนๆ แกงไตปลาที่พบตามร้านขนมจีนในกรุงเทพ น้ำแกงจะใส เผ็ดน้อยกว่าแกงไตปลาแบบปักษ์ใต้แท้ นิยมใส่พวกหน่อไม้ ถั่วฝักยาว ฟักทอง มะเขือเปราะ และมะเขือพวก

ขนมจีนภาคอีสานคนอีสานกินขนมจีน น้ำยาป่าปลาร้า ใส่ปลาร้าเป็นตัวชูรส ใส่กระชายโขลกพอหยาบให้น้ำยามีกลิ่นหอมและมีเนื้อกระชาย บางที่ใส่ต้นหอมเพิ่มกลิ่นหอมขึ้นด้วย น้ำยาป่ามีหลายสูตรต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ถ้าเป็นคนโคราชก็เรียกน้ำยาโคราช นอกจากนั้นยังมีข้าวปุ้นฮ้อนหรือข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ที่น้ำแกงไม่มีเนื้อปลาเลย เป็นเพียงน้ำต้มกระดูก ปรุงรสด้วยปลาร้า ใส่พริกสด กระเทียม และมะนาว เป็นต้น

ขนมจีนภาคเหนือ ที่ขึ้นชื่อคือขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำแกงมีสีแดงสีส้ม ใส่ถั่วเน่า ดอกงิ้ว เลือดหมู กระดูกหมู หมูสับ และมะเขือส้ม รสชาติเปรี้ยวอมหวาน น้ำซุปเคี่ยวจากกระดูกหมูจนมีรสหวานกลมกล่อม ใส่ดอกงิ้วซึ่งเป็นดอกสีส้มต้นใหญ่ เกิดในป่าเขา นำส่วนเกสรของดอกมาตากแห้ง มีกลิ่นและรสอ่อนๆ มีความมันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เวลารับประทานจะตักน้ำเงี้ยวร้อนๆราดบนเส้นขนมจีน โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ต้นหอม และผักชี กินกับผักกาดดอง ถั่วงอกดิบ แคบหมู พริกแห้งทอดหรือพริกป่นผัดน้ำมัน บีบมะนาวเพื่อตัดรสให้กลมกล่อมขึ้น

44231244:DDR
read more

Thursday 9 June 2011

ขนมจีน ทำสด “ขนมจีนโบราณ ลุงช่าง” - เจ้าแรกในพัทยา

และแล้วก็ถึงเวลาตระเวนหาของดีของอร่อยเมืองพัทยากันอีกครั้ง คราวนี้คงจะถูกใจบรรดาเด็กเส้นทั้งหลายกับขนมจีนโบราณสูตรเด็ด ของเขาเด็ดตั้งแต่เส้นจนถึงหม้อ (หม้อน้ำยา) แบบว่าสดจากเส้นทำให้เห็นกันสดๆ เจ้าแรกในพัทยา


ว่าแล้วก็ออกเดินทางกันเลย เราขับรถมาตามเส้นทางถนนสายสุขุมวิทพัทยาเหนือมุ่งหน้าพัทยากลาง ก่อนถึงแยกไฟแดงพัทยากลาง เลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 53 หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าซอยเนินพลับหวานขับตรงมาเรื่อยๆ ข้ามทางรถไฟ เสร็จแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปทางที่ของตลาดปอยเปต เพราะร้านนี้จะตั้งอยู่ด้านหลังตลาดนั่นเอง ตัวร้านเป็นเรือนไทยหลังใหญ่ มองเห็นเด่นเป็นสง่า อยู่ริมถนนฝั่งเลียบทางรถไฟ




คลิป ขนมจีน ทำสด “ขนมจีนโบราณ ลุงช่าง” -  เจ้าแรกในพัทยา






ต้องขอบอกว่า ร้านนี้เขามีดีตรงความสดใหม่ของเส้นขนมจีน สดทั้งเส้น สดทั้งกรรมวิธีการทำ โชว์ให้เห็นกันแบบจะๆ และที่ไม่ธรรมดา คือทุกขั้นตอนนั้น เป็นภูมิปัญญาไทย วิถีไทยแท้ๆ แต่โบราณทั้งสิ้น ที่ไม่ได้พึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่อย่างใด
เคล็ดลับความอร่อยของขนมจีนนั้นไม่ได้อยู่เฉพาะที่รสชาดของน้ำยา น้ำแกง เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับเส้นของขนมจีนที่เหนียวนุ่มแสนอร่อย และความสดใหม่ทุกวัน เหมือนอย่างร้าน “ขนมจีนโบราณลุงช่าง” ที่เปิดรอรับให้เราได้ลองลิ้มชิมรสกับน้ำยาหลายหลากพร้อมผักเครื่องเคียงนานาชนิด อร่อยแล้วยังดีต่อสุขภาพด้วย


เมื่อได้เห็นถึงขั้นตอนการทำ ที่กว่าจะมาเป็นเส้นขนมจีนให้เราได้ทานกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกขั้นตอนคือความละเมียดละไม ใส่ใจ เรียกได้ว่าเป็น มนต์เสน่ห์ของอาหารไทยก็ว่าได้ ทุกขั้นตอนล้วนแต่พิถีพิถัน
รู้สึกเหมือนได้ย้อนอดีตสัมผัสชีวิตวิถีไทยสมัยปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ได้พึ่งเครื่องจักรเหมือนอย่างทุกวันนี้ ใช้เพียงกำลังแรงกาย ด้วยสองมือ ตั้งแต่การหมักข้าว เอาข้าวมาตำมานวด และที่สำคัญปราศจากสารกันบูด ไม่มีสารเคมีเจือปน ที่ร้านลุงช่างรับประกันความสด เพราะทำวันต่อวัน



อิ่มพุง อิ่มใจ และยังได้ความรู้ดีๆ กลับบ้านไปด้วย ลุงช่างฝากบอกหากใครสนใจอยากเรียนรู้วิธีการทำขนมจีนแบบโบราณ ทางร้านยินดีที่จะสอนให้แบบไม่หวงวิชา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา


อย่าลืมลองแวะมาชิมและชม ขนมจีนสูตรเด็ด สูตรโบราณ ร้านลุงช่าง กันนะคะไม่เพียงแต่ขนมจีนเท่านั้น ทางร้านยังมี ข้าวราดแกง ขนมหวาน น้ำผลไม้ปั่น ชา กาแฟ ไว้ค่อยบริการทุกท่าน และที่พลาดไม่ได้ สำหรับใครที่อยากจะมาชมขั้นตอนวิธีการทำเส้นขนมจีนแบบโบราณแท้ๆ คุณลุงฝากมาบอกว่า ต้องมาช่วงเช้าตั้งแต่ 9 โมงเป็นต้นไป นะจ๊ะ


ร้านขนมจีนโบราณ ลุงช่าง ตั้งอยู่ภายในซอยเนินพลับหวาน (.สุขุมวิท-พัทยา 53) ด้านหลังตลาดปอยเปต ฝั่งเลียบทางรถไฟ เปิดบริการความอร่อย สดใหม่ทุกวัน

read more

วัฒนธรรม ขนมจีน-หันไปให้ค่ากับความขาวของเส้นและรังเกียจของหมักขนมจีน







ปัจจุบันขนมจีนมีทั้งที่ทำจากแป้งหมักและแป้งสด แต่พิจารณาตามเหตุผลแล้วขนมจีนดั้งเดิมในสุวรรณภูมิน่าจะเป็นแป้งหมักเท่านั้น แป้งสดคงมาภายหลังเมื่อเครื่องโม่ที่สามารถโม่แป้งได้มาก ๆ มีให้แพร่หลาย ในเงื่อนไขที่ไม่มีเครื่องจักรที่โม่แป้งได้มาก ๆ การหมักข้าวเพื่อให้เนื้อข้าวเปื่อยพอนำมายีด้วยมือ หรือโขลกด้วยครก และปั้นเป็นก้อนแป้งจำนวนมากตามความต้องการ เป็นวิธีการเดียวที่มีอยู่ จริงอยู่ครกบด หรือครกหินมีแกนหมุนที่ใช้โม่แป้งทำขนม คงมีมาพร้อมกับคนจีนนานพอควร แต่นั่นก็เพียงได้แป้งสำหรับทำขนมหวานเสียมากกว่า อีกทั้งยังไม่แพร่หลายกว้างขวางทั่วไปในครัวเรือนส่วนใหญ่ เท่าที่สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ ตามบ้านเรือนคนไทยสมัยก่อนก็ทำขนมจีนแป้งหมักและตำแป้งด้วยครกทั้งนั้น


ยิ่งในยามมีงานบุญที่ต้องทำขนมจีนเลี้ยงพระเลี้ยงแขกจำนวนมากหลาย ๆ วัน ก็ยิ่งต้องเป็นขนมจีนแป้งหมักขนมจีนที่ได้นอกจากเส้นเหนียวไม่ขาดและหอมอร่อยแล้ว ยังเก็บไว้ได้หลายวัน สนองเจตนา เป็นอาหารเทศกาลงานบุญได้อย่างดี นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้ เทียบกันแล้วขนมจีนแป้งสดบูดเสียเร็วกว่าขนมจีนแป้งหมักมาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทำขนมจีนแป้งหมักมีขบวนการที่ซับซ้อนใช้เวลาและแรงงานสูง ประกอบกับในภายหลังมีเครื่องจักรไฟฟ้าโม่แป้งได้ครั้งละมาก ๆ และรสนิยมคนกินเสื่อมทรามลงไป หันไปให้ค่ากับความขาวของเส้นและรังเกียจของหมักขนมจีนที่ขายในท้องตลาดจึงกลายเป็นขนมจีนแป้งสดเสียมาก ขนมจีนแป้งหมักทำกินยากมากขึ้น แถมราคาแพงกว่า แต่นักกินผู้มีประสบการณ์ก็ยังเสาะทำขนมจีนแท้ขนมจีนแป้งหมักอันโอชะ

ขั้นตอนการทำขนมจีนเริ่มต้นด้วยการหมักข้าวล้างข้าวอย่างน้อยประมาณ 3 - 4 วัน ให้ข้าวพองและเปื่อยพอดี จากนั้นเอาข้าวมายีด้วยมือหรือตาด้วยครก ใส่ถุงผ้าแขวนหรือทับให้สะเด็ดน้ำ เหลือแต่แป้งจริง ๆ ได้ที่แล้วเอามานวดและปั้นเป็นลูกกลมโตขนาดลูกมะพร้าว นำไปต้มให้เปลือกนอกสุกแล้วโขลกในครกใหญ่จนเหนียว ผสมน้ำและนวดจนแป้งเหนียวหนับ แล้วนำไปบีบผ่านหน้าแว่นโรยลงกระทะใบบัวที่น้ำร้อนกลังพอดี พอสุกใช้กระชอนตักขึ้นล้างและแช่ในน้ำเย็น ก่อนนำเส้นมาจับเป็นหัว ๆ ซึ่งเรียกว่า "จับ" เรียงซ้อนต่อกันเป็นวงกลมในเข่งไม้ไผ่สานที่รองด้วยใบมะยมหรือใบกล้วย

ขนมจีนมีสี กลิ่นหอม และความเหนียว ต่างกันไปตามระยะเวลาการหมักข้าว ยิ่งหมักมากวัน เส้นที่ได้จะยิ่งเหนียวและหอม แต่สีก็จะคล้ำมากขึ้น เช่นขนมจีนอีสานมักหมักประมาณ 7 วัน แต่ขนมจีนที่อ่างทอง หมักเพียง 3 - 4 วัน เส้นก็จะดูขาวกว่า กลิ่นน้อยกว่าขนมจีนหล่มเก่า ซึ่งมักหมักสั้นๆ เพียง 2 วัน ก็จะยิ่งขาว กลิ่นหมักแทบไม่มี

การทำขนมจีนมีหลายขั้น แต่ละขั้นมีความพิถีพิถัน และใช้แรงมากโดยเฉพาะในการตำข้าว ตำแป้ง นวดแป้ง โรยเส้น และจับเส้น ทำขนมจีนเลี้ยงในงาน ก็ต้องมีเพื่อนบ้านญาติพี่น้องมาช่วยกันทำล่วงหน้าก่อนถึงวันงาน สร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และการละเล่นรื่นเริงเพื่อนคลายเหนื่อยตามมา เช่น การเล่นเพลงขนมจีนโนเนของคนมอญสามโคก เป็นต้น

การหมักข้าว ต้องล้างข้าวที่หมักทุกวันเพื่อกันไม่ให้เน่าเสีย ยิ่งหมักนานก็ยิ่งต้องใช้น้ำมาก ในทางปฏิบัติ การทำขนมจีนจึงต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำจากแม่น้ำลำคลอง ชีวิตชุมชนและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นริมน้ำในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไปได้ดีกับวิถีขนมจีนแป้งหมัก

ในไทยพม่า ลาว และเขมรขนมจีนเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงในงานบุญเหมือนกัน เพราะกินสะดวก เป็นอาหารจานเดียว หยิบขนมจีนใส่จาน ราดด้วยน้ำแกงในหม้อ ใส่ผักและเครื่องปรุงตามชอบ แค่นี้ก็ได้อิ่มอร่อยกันถ้วนหน้า คนไทยยังนิยมทานขนมจีนน้ำยาถวายพระ และเลี้ยงขนมจีนในงานบุญงานมงคลทุกชนิด เพราะเชื่อว่าเป็นขนมมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะขาดขนมจีนไม่ได้ในงานแต่งงานและงานหมั้น เพราะเชื่อว่าเส้นที่ยืดยาวทาให้ชีวิตคู่อยู่ยืนนาน ตรงกันข้ามสำหรับงานศพ คนไทยภาคกลางหลายแห่งไม่นิยมเลี้ยงขนมจีนเพราะไม่ต้องการให้ยืดเยื้อ บางท้องถิ่นก็เชื่อรุนแรงขนาดเลี้ยงขนมจีนในงานศพแล้ว คนตายจะไม่ได้ไปผุดไปเกิดที่ฟังแล้วอ่อนโยนมากกว่า เห็นจะเป็นความเห็นของคนโพธิ์หัก ราชบุรีที่ว่า "งานศพจะทำแกงส้มหรือแกงคั่ว แต่ห้ามทำขนมจีนเลี้ยง โบราณเขาถือ เส้นมันยืดยาวคนตายจะมาผูกพันเกี่ยวข้องกับคนเป็น"

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นของกินสะดวก เหมาะสำหรับเลี้ยงคนจำนวนมาก ระยะหลัง ๆ คนเห็นแก่สะดวกเข้าว่า ประเภทไม่ถือสา หรือไม่รู้คงมีมากขึ้น จึงเห็นมีขนมจีนเลี้ยงในงานศพด้วย ในปัจจุบันขนมจีนน้ำยาและน้ำแกงต่าง ๆ กลายเป็นอาหารยอดนิยมทั้งในไทยลาว เขมร และพม่าในราคามิตรภาพสำหรับคนเดินดินทั่วไป มีขายตามข้างทาง ตลาด และแหล่งชุมชนหนาแน่น

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=1027

read more

ขนมจีน กับประเพณีแต่งงาน - เชื่อว่าเป็นนิมิตที่ดีที่คู่บ่าวสาวจะครองรักกันยืดยาว

ประเพณีแต่งงาน
เป็นงานมงคลอีกงานหนึ่งที่มีเรื่องของความเชื่อมาเกี่ยวข้องอยู่หลายประการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรมจึงได้รวบรวมและสรุปมาบางประเด็นเพื่อเป็นสาระความรู้ ดังนี้





ความหมาย คำว่า “แต่งงาน” หมายถึง
การทำพิธีเพื่อให้ชายและหญิงอยู่กินเป็นผัวเมียตามประเพณี ตามพระราชนิยมในรัชกาลที่๖ ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า อภิเสกสมรส สำหรับเจ้าฟ้า เสกสมรส สำหรับ พระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า และ สมรส สำหรับข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์ ต่อมาสามัญชนได้ใช้ตาม โดยตัดคำว่าเสกออก เพราะเห็นว่าเป็นของเจ้านาย เรียกเพียง สมรส
(คำว่า “เสก”หมายถึง การหลั่งน้ำเพื่อยกให้ ) ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า พิธีมงคลสมรส นอกจากนี้ยังมีคำเรียกในภาษาถิ่นที่แตกต่างกันอีกได้แก่ ภาคพายัพเรียกว่ากินแขก ภาคอีสาน เรียก กินดอง ภาคใต้เรียก กินงานหรือกินเนี้ยว ( คือกินข้าวเหนียวนึ่งโรยน้ำตาลและมะพร้าวขูด)



ภาคกลางบางท้องถิ่นเรียก กินสามถ้วย กินสี่ถ้วย (หมายถึง อาหารว่างที่เลี้ยงในงานแต่งมีสี่อย่างหรือสี่ถ้วยคือ ไข่กบคือสาคูหรือเมล็ดแมงลัก นกปล่อย คือ ลอดช่อง มะลิลอยคือข้าวตอก และอ้ายตื้อคือข้าวเหนียว มีน้ำกะทิใส่ชามอยู่ตรงกลาง ถ้าเป็นสามถ้วยจะไม่มีไข่กบ) จะเห็นว่าแม้จะเรียกต่างๆกัน แต่ก็มีคำว่า กิน อันหมายถึงการเลี้ยงดูญาติมิตรแขกเหรื่อที่มาร่วมแสดงยินดีและเป็นสักขีพยาน

เพราะการแต่งงานของหญิงชายที่จะมาอยู่เป็นสามีภริยากันนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ จึงประกาศให้คนอื่นได้รับรู้ถึงการมาเกี่ยวดองกันด้วย

พระยาอนุมานราชธนได้เขียนไว้ว่า แต่เดิมเจ้านายทรงหาหม่อมห้ามได้ตามใจชอบ ไม่มีพิธีแต่งงาน มามีพิธีแต่งงานเจ้าในสมัยรัชกาลที่๕ เป็นครั้งแรก และสืบต่อเป็นราชประเพณี จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ที่ทรงบัญญัติคำเรียกดังที่กล่าวมาข้างต้น

การแต่งงาน อาจแบ่งได้เป็น ๒ อย่างคือ
วิวาหมงคล คือ การแต่งงานที่ฝ่ายหญิงมาอยู่บ้านฝ่ายชาย ส่วน อาวาหมงคล คือ การแต่งงานที่ฝ่ายชายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง ปัจจุบันมักใช้คำว่า “วิวาห์” หรือ “มงคลสมรส” เป็น คำรวม ๆ มิได้แยกว่าฝ่ายใดจะไปอยู่กับฝ่ายใด


สาเหตุที่ต้องมีขันหมากในการแต่งงาน สืบเนื่องจากสมัยก่อนชาติต่าง ๆ ทางตะวันออก รวมทั้งไทยเป็นชนชาติที่กินหมาก ดังนั้น ย่อมใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับเพื่อแสดงไมตรีจิต เวลาแขกมาเยือนก็ยกเชี่ยนหมากมารับรอง อันหมายถึง ยินดีต้อนรับด้วยไมตรีจิตถือเป็นกันเอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะไปสู่ขอหรือแต่งงานกับลูกสาวใคร ซึ่งเป็นคนต่างบ้านต่างถิ่น แม้จะมีของอย่างอื่น แต่ก็ต้องมีหมากพลูไปคำนับเพื่อแสดงไมตรีจิตด้วย ซึ่งแต่เดิมก็ไม่มีการกำหนดว่าต้องมีจำนวนเท่าใด แต่ต่อมาได้มีการกำหนดว่าควรเป็น ๔ ๘ หรือ ๑๖ เพราะหากแบ่งทอนแล้วก็ยังเป็นเลขคู่เท่ากับเครื่องหมายคู่คือคู่บ่าวสาว และแม้ปัจจุบันจะไม่มีการกินหมากแล้ว แต่ก็ยังมีขันหมากพลูในพิธีแต่งงานอยู่


ขันหมากเอก คือ ขันหมากที่บรรจุหมากพลู และยังมีขันใส่เงินทองหรือสินสอด และขันใส่สิ่งอันเป็นมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงินใบทอง ฯลฯ ส่วนขันหมากโท ได้แก่ ขันหมากที่ใส่อาหารขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ๆ เพื่อให้ดูสวยงามและเป็นเคล็ดคำว่า “คู่"

วัน /เดือนที่นิยมแต่งงาน มักจะแต่งเดือนคู่
ด้วยถือเคล็ดคำว่าคู่ส่วนใหญ่จะเลือกแต่งเดือน ๒
,, , ๙ และ ๑๒ ส่วนเดือน ๘ แม้จะเป็นเดือนคู่ก็ไม่นิยมด้วยว่าเป็นเดือนแรกเข้าพรรษาจึงเว้นไม่แต่ง เปลี่ยนเป็นเดือน ๙ แทน โดยเฉพาะข้างขึ้น เพราะมีความหมายดีว่า ก้าวขึ้น (เอาเคล็ดตรงเสียง เก้า-ก้าว) เดือน ๑๐ ก็มีคนแต่งบ้าง แต่น้อย ส่วนเดือน ๑๒ แม้จะเป็นเดือนคู่แต่เมื่อก่อนจะถือ ไม่แต่งกัน เพราะว่าเป็นช่วงฤดูสุนัขติดสัด ไม่ควรไปแข่งหรือ เอาอย่างมัน แต่สมัยนี้ก็ไม่ค่อยถือกันแล้ว

ส่วนวันที่ไม่นิยมแต่ง คือ วันพุธ
ว่าเป็นวันสุนัขนามไม่ดี
(ไม่ได้มีคำอธิบายว่าสุนัขนามหมายถึงอะไร) วันอังคารและวันเสาร์ ก็ไม่แต่งเพราะถือเป็นวันกล้าแข็ง เหมาะกับปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หากแต่งอาจจะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้ง่าย วันพฤหัส ถือเป็นวันครูก็ไม่นิยมแต่ง อีกทั้งมีตำนานเล่าว่าพระพฤหัส แต่งลูกสาวคือนางจันทร์วันนั้น (กับพระอาทิตย์) แล้วลูกสาวมีชู้ (คือพระอังคาร)จึงไม่ควรใช้ นอกจากนี้ ในทางโหราศาสตร์ยังมีวันอุบาทว์และโลกาวินาศที่ต้องระวังด้วย ต้องเลือกเอาวันอธิบดีหรือวันธงชัย จึงจะดี สรุปแล้ว วันที่แต่งได้คือ วันจันทร์ วันศุกร์และวันอาทิตย์ โดยเฉพาะวันศุกร์ เพราะออกเสียงว่า “สุข” มีความหมายที่ดี อย่างไรก็ดี หากทั้งสามวันที่ว่าตรงกับ วันอุบาทว์หรือโลกาวินาศก็ถือว่าไม่ดี ไม่ควรแต่งอีกเช่นกัน

ต้นกล้วยต้นอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากนั้น
ต้องขุดให้ติดรากหรือมีตาและเลือกตันที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะขุดมาเป็นคู่และตกแต่งด้วยกระดาษสีให้สวยงาม ต้นกล้วยและอ้อยนี้ บ่าวสาวต้องปลูกร่วมกันเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง คือหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์และอ้อยก็เติบโตหอมหวาน ก็เชื่อว่าความรักของคู่บ่าวสาวจะราบรื่นหอมหวาน และมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง บางท้องถิ่นอาจจะมีต้นไม้อื่นๆให้ปลูกไปด้วย เช่น หมากพลู ถั่ว งา ข้าวเปลือก ฯลฯ การที่มีพืชผักเหล่านี้ คงเป็นเพราะสมัยก่อนหนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่ ต้องมีเหย้ามีเรือนแยกไปจากพ่อแม่ การเริ่มต้นชีวิตใหม่ จึงต้องปลูกพืชพันธุ์ผัก ผลไม้ที่เป็นอาหารอันจำเป็นต่อการยังชีพในอนาคตด้วย


ความเชื่อเรื่องขนม และกับข้าวในงานแต่งงาน
ขนมที่นิยมและถือว่าเป็นมงคลได้แก่ขนมจีนถือเคล็ดว่าต้องเป็นจับใหญ่ สวย และไม่ขาดรุ่ย เป็นเส้นเรียบร้อยสวยงาม เชื่อว่าเป็นนิมิตที่ดีที่คู่บ่าวสาวจะครองรักกันยืดยาว ขนมฝอยทอง ก็เช่นเดียวกับขนมจีนที่ต้องเป็นเส้นยาวสมบูรณ์ จับเป็นแพได้สวยงาม นอกจากนี้ยังมี ขนมหม้อแกง ขนมชั้น ทองหยิบ ทองหยอด ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีชื่อเป็นมงคล จึงนิยมนำมาเข้าพิธีมงคลและงานบุญ ส่วนที่ไม่นิยม ก็มีพวกต้มยำ แกงบวด หรือต้มผัก เพราะชื่อฟังแล้วไม่ค่อยเป็นมงคล รวมไปถึง พวกปลาร้าปลาเจ่า เพราะเกรงจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และข้าวต้มเพราะมักใช้เลี้ยงในงานศพ


การใช้หอยสังข์มาใส่น้ำพุทธมนต์หลั่งอวยพรให้คู่บ่าวสาว
ด้วยถือว่าหอยสังข์เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากกวนเกษียรสมุทรของเทพและอสูร โดยมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งได้มีอสูรตนหนึ่งมาลักพระเวทไปซ่อนไว้ในหอยสังข์ พระนารายณ์จึงได้อวตารไปปราบ หลังจากสังหารอสูรแล้ว จึงทรงล้วงเอาพระเวทออกจากหอยสังข์ ทำให้ปากหอยสังข์มีรอยพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าหอยสังข์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเคยเป็นที่รองรับพระเวท การนำมาใส่น้ำมนต์รดให้คู่บ่าวสาวจึงถือว่าเป็นสิริมงคลการแต่งงานสมัยโบราณจะไม่มีการรดน้ำสังข์

ที่มา : 
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=1027
read more

ประวัติอาหารพื้นบ้าน(ขนมจีน) ที่มาของคำว่า ขนมจีน

ขนมจีน หรือ ขนมมอญ
นับเป็นเรื่องที่น่าคิดเพราะตามที่ได้ยินมาใครๆ มักจะพูดว่า "ขนมจีน" ไม่น่าจะใช่อาหารของจีนอยู่แล้วและบทความส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึงคำนี้อยู่เสมอว่าน่าจะมาจากภาษามอญ"ขนมจีน"น่าจะเป็นภาษาอะไรกันแน่และคนมอญมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมการทำหรือการกินขนมจีนแค่ไหน

ชาวมอญ ทั่วไปนิยมรับประทานขนมจีนไม่เฉพาะแต่ในเทศกาลเท่านั้นในบางครั้งก็ยังมีการทำกินกันเองเป็นการรวมญาติหรือว่าเวลาวิดปลาขึ้นมาแล้วได้ปลาเยอะก็จะมีการทำน้ำยากินกัน

คำว่า "ขนมจีน" มอญเรียกว่า "คนอม" เป็นกริยาแปลว่า ทำ,สร้าง(ในพจนานุกรมภาษามอญ-อังกฤษ ที่รวบรวมโดยR. Halliday ได้ให้ความหมายว่า "form")


ส่วนคำว่า "จีน" ที่อยู่ข้างหลังคำว่า "ขนม" นั้นไม่มีใช้ในภาษามอญมีแต่คำว่า "จิน" ซึ่งแปลว่าสุก(จากการหุงต้ม) สิ่งที่น่าสังเกตคือคนมอญนั้นจะเรียกขนมจีนว่า "คนอม" เฉยๆไม่ใช่คนอมจินเราจะพบได้จากบทความต่างๆทั่วไปซึ่งกล่าวถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของคำ"คนอมจิน"ว่าขณะที่คนมอญกำลังทำ"คนอม" อยู่ ก็มีคนไทยเดินมาและร้องถามว่า กำลังทำอะไรอยู่

คนมอญตอบเป็นภาษามอญ ว่า "คนอมจินโก๊กเซมเจี๊ยะกัม" แปลว่าขนมจีนสุกแล้วเรียกคนไทยมากินด้วยกันและจากนั้นเป็นต้นมา คนไทยก็เรียกอาหารชนิดนี้ว่า "คนอมจิน" และเพี้ยนมาเป็น "ขนมจีน" จากเรื่องเล่านี้จะสังเกตได้ว่า ฟังดูลอยๆ ไม่สมเหตุผล เนื่องจากคำว่า "คนอม" กับ "จิน" นั้นเป็นคำที่แยกกัน (แต่ถูกนำมาอยู่ในประโยคเดียวกัน )



กลับมาดู
คำว่า "คนอม" กันอีกที คำว่า "คนอม" แปลว่า "ทำ" ไม่พบว่าเป็นกริยาที่ใช้กับอาหารชนิดอื่น เช่น "หุงข้าว" มอญใช้คำว่า "ดุนเปิง" "ดุน" แปลว่าหุง "เปิง" แปลว่าข้าว
"ทำแกง" (ต้มแกง) มอญใช้คำว่า "ดุนกวะ" "กวะ" แปลว่าแกง
"ทำขนม" มอญใช้คำว่า "โกลนกวาญจ์" "โกลน" แปลว่าทำ, "กวาญจ์" แปลว่าขนม
กลับมาที่คำว่า "คนอม" อีกครั้ง

คำว่า  "คนอม" มักพบคำนี้ได้ในคำกริยาที่หมายถึงทำ หรือสร้าง ซึ่งใช้กับการก่อสร้างวัตถุ เช่น
"สร้างเจดีย์" มอญใช้คำว่า "คนอมเจตอย" (เจดีย์-เจตอย มาจากภาษาบาลี)
"สร้างศาลา" มอญใช้คำว่า "คนอมซาลา" (โปรดสังเกต ศาลา-ซาลา มาจากภาษาบาลีเช่นกัน) เรื่องของวัฒนธรรมขนมจีน คิดว่าไม่น่าจะมีใครเป็นเจ้าของ เพราะสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ เช่น ในเวียดนามที่เรียกว่า "บุ๋น" ซึ่งฟังแล้วคล้ายคลึงกับคำว่า "ข้าวปุ้น" ทางภาคอีสานของเรา นมเวงใน


เขมรสูง "นม" แปลว่าขนม "เวง" แปลว่าเส้น ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า "ขนมเส้น" ทางภาคเหนือ และในพม่ายังเรียก "อาหาร" ชนิดนี้ว่า "โมนดิ" แปลว่า "มอญ" (ของมอญ?) อีกด้วย ที่น่าสนุกกว่านี้ ขนมจีนของเรายังหากินได้ที่เกาะไหหลำ (แถมยังกินกับกะปิอีกด้วยที่ยืนยัน ว่าเหมือนกันแน่ๆ เพราะว่าทำจากแป้งข้าวเจ้า และเป็นเส้นกลมๆ)


คำว่า "ขนมจีน" อาจจะมีเค้ามาจากจีนจริงๆ เพราะถ้าเรามาลองคิดดูด้วยเหตุผลอีกทีหนึ่งว่าใน
การ ออกเสียงภาษามอญไม่มีวรรณยุกต์ถ้าคำว่า "ขนมจีน" เป็นภาษาไทยแล้วคนมอญเอาคำนี้ไปใช้ก็จะไม่สามารถพูดคำว่า  "ขนม" ได้ต้องออกเสียง ว่า "คนอม" และโดยนิสัยของคนมอญนั้น ชอบตัดคำให้สั้นลงในภาษาพูดจะเห็นว่าภาษาพูดและภาษาหนังสือจะไม่เหมือนกัน เช่น คำว่า "คน" ในภาษาพูด ของมอญพูดว่า "นิห์" ภาษาเขียนใช้ว่า "เมะนิห์"  ลักษณะนี้จะพบได้เสมอในภาษามอญ(พระเจ้าสีหรา ชาธิราชเป็นพระเจ้าราชาธิราช)ดังนั้นคำว่า "ขนมจีน" ในภาษาไทย อาจถูกเรียกว่า "คนอมจิน" และสุดท้ายเหลือเพียงคำว่า "คนอม" หรือ "ฮนอม" แต่ยังมีอีกคำที่น่าสนใจคือ "จับ" หมายถึงขั้นตอนสุดท้ายของการทำขนมจีน คือการโรยเส้นขนมจีนลงไปในน้ำที่ร้อนพอดี พอสุกแล้วใช้กระชอนตักขึ้นล้างแล้วแช่ในน้ำเย็นก่อนนำเส้นมาจับเป็นหัวๆภาษามอญที่คนมอญใช้เรียกขนมจีนที่จับเป็นหัวๆ แล้วว่า "ดับ" แปลว่า "หัว" ทางใต้ใช้คำว่า "หัว" ทางอีสานก็เรียกว่า "หัว" เป็นไปได้ว่าคำที่จะใช้เรียกคำต่างๆ นั้น น่าจะใช้จากลักษณนามไม่ใช่เรียกจากคำกริยาในเมื่อคนมอญคนเหนือ และคนใต้ เรียกขนมจีนที่จับแล้วว่า  "หัว"  ในความหมายเดียวกันคนภาคกลางน่าจะ ใช้คำว่า "หัว" เช่นกัน ไม่น่าจะใช้คำว่า "จับ" หรือว่าคำว่า "จับ" นี้ จะมาจากคำว่า "ดับ" (หัว) ใน ภาษามอญเมื่อทำขนมจีนเสร็จแล้ว ทีนี้ก็มาจัดเรียงในถาดเพื่อเตรียมตัวรับประทานเราจะพบอีก คำหนึ่งในภาษามอญคือคำว่า "ถาด" ออกเสียงว่า "ทะห์" เป็นไปไหมว่า คำนี้น่าจะยืมมาจากภาษามอญ


อันที่จริงแล้ว การถ่ายทอดวัฒนธรรมทางด้านภาษาและวัฒนธรรมการกินนั้นเป็นเรื่องปกติที่มีมา
นานนม ได้ผสมกลมกลืน และถ่ายทอดกันไปมาจนแทบจะไม่สามารถสืบหาที่มาได้อย่างแน่นอน
เมื่อพูดถึงคำว่า "ขนมจีน" ทำให้นึกถึงชาวจีน คนมอญเรียกชาวจีนว่า "เมะนิห์เกริ๊ก"
"เมะนิห์" แปลว่า "คน"
"เกริ๊ก" แปลว่า "จีน"
"อะเจิ้ด" แปลว่า "เจ๊ก"
"เดิงเร่ะห์" แปลว่า "เมืองจีน"


ลองค้นหาต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองชนชาตินี้ เพราะพบอีกบางคำที่น่าสนใจในภาษา
มอญ (อีกแล้ว) นั่นคือคำว่า "กิน" ซึ่งมอญใช้คำว่า "เจี๊ยะ" "กินข้าว" มอญใช้คำว่า "เจี๊ยะเปิง" คำว่า "เจี๊ยะ" ใช้กันอยู่ทั่วไปในภาษามอญ ตั้งแต่ผมเกิด แต่คำว่า "เจี๊ยะ" ไม่สามารถสะกดตัวได้
ในภาษาหนังสือของมอญ มีแต่คำว่า "จ๊ะ" จะไม่ออกเสียงว่า "เจี๊ยะ" แต่ในภาษามอญภาษาพูดกับ ภาษาเขียนมักจะไม่ตรงกัน ในภายหลังจึงอนุโลมให้สะกดคำว่า "เจี๊ยะ" ด้วยการเขียนว่า "จ๊ะ" (เป็นคำยกเว้นในภาษามอญ)


อันที่จริง คำซึ่งมีความหมายว่า "กิน" ของภาษามอญ พบว่ามีอยู่เดิม โดยร่องรอยการใช้คำนี้พบได้ในภาษาที่ใช้กับพระภิกษุ คือคำว่า "ฮับ" และสามารถอ่านพบได้ในคัมภีร์ใบลานของมอญในหลายผูกเช่น "พระฉันข้าว" มอญใช้คำว่า "เนะกยาจก์ ฮับเปิง" จึงอยากสันนิษฐานว่า คำว่า "เจี๊ยะ" ในภาษามอญ ซึ่งแปลว่า "กิน" น่าจะมาจากภาษาอื่นเพราะมอญมีคำว่า "ฮับ" อยู่แล้ว

"เจี๊ยะ" (กิน) ในภาษามอญน่าจะฟังคล้ายๆ ภาษาอะไร? วัฒนธรรมขนมจีนปัจจุบันขนมจีนมีทั้งที่ทาจากแป้งหมักและแป้งสด แต่พิจารณาตามเหตุผลแล้ว ขนมจีนดั้งเดิมในสุวรรณภูมิน่าจะเป็นแป้งหมักเท่านั้น แป้งสดคงมาภายหลังเมื่อเครื่องโม่ที่สามารถโม่แป้งได้มาก ๆ มีให้แพร่หลาย ในเงื่อนไขที่ไม่มีเครื่องจักรที่โม่แป้งได้มาก ๆ การหมักข้าวเพื่อให้เนื้อข้าวเปื่อยพอนามายีด้วยมือหรือโขลกด้วยครก และปั้นเป็นก้อนแป้งจำนวนมากตามความต้องการ เป็นวิธีการเดียวที่มีอยู่ จริงอยู่ครกบด หรือครกหินมีแกนหมุนที่ใช้โม่แป้งทำขนม คงมีมาพร้อมกับคนจีนนานพอควร

แต่นั่นก็เพียงได้แป้งสำหรับทำขนมหวานเสียมากกว่า อีกทั้งยังไม่แพร่หลายกว้างขวางทั่วไปในครัวเรือนส่วนใหญ่ เท่าที่สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ ตามบ้านเรือนคนไทยสมัยก่อนก็ทาขนมจีนแป้งหมักและตาแป้งด้วยครกทั้งนั้นยิ่ง ในยามมีงานบุญที่ต้องทำขนมจีนเลี้ยงพระเลี้ยงแขกจำนวนมากหลาย ๆ วัน ก็ยิ่งต้องเป็นขนมจีนแป้งหมัก ขนมจีนที่ได้นอกจากเส้นเหนียวไม่ขาด และหอมอร่อยแล้ว ยังเก็บไว้ได้หลายวัน สนองเจตนาเป็นอาหารเทศกาลงานบุญได้อย่างดี

นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้ เทียบกันแล้ว ขนมจีนแป้งสดบูดเสียเร็วกว่าขนมจีนแป้งหมักมาก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทำขนมจีนแป้งหมักมีขบวนการที่ซับซ้อน ใช้เวลาและแรงงานสูงประกอบกับในภายหลังมีเครื่องจักรไฟฟ้าโม่แป้งได้ครั้งละมาก ๆ และรสนิยมคนกินเสื่อมทรามลงไป หันไปให้ค่ากับความขาวของเส้นและรังเกียจของหมัก ขนมจีนที่ขายในท้องตลาดจึงกลายเป็นขนมจีนแป้งสดเสียมาก ขนมจีนแป้งหมักหากินยากมากขึ้น แถมราคาแพงกว่า

แต่นักกินผู้มีประสบการณ์ก็ยังเสาะหาขนมจีนแท้ ขนมจีนแป้งหมักอันโอชะ ขั้นตอนการทาขนมจีน เริ่มต้นด้วยการหมักข้าวล้างข้าวอย่างน้อย ประมาณ 3 - 4 วัน ให้ข้าวพองและเปื่อยพอดี จากนั้นเอาข้าวมายีด้วยมือ หรือตาด้วยครก ใส่ถุงผ้าแขวน หรือทับให้สะเด็ดน้า เหลือแต่แป้งจริง ๆ ได้ที่แล้วเอามานวด และปั้นเป็นลูกกลมโตขนาดลูกมะพร้าว นำไปต้มให้เปลือกนอกสุกแล้วโขลกในครกใหญ่จนเหนียว ผสมน้ำและนวดจนแป้งเหนียวหนับ แล้วนำไปบีบผ่านหน้าแว่นโรยลงกระทะใบบัวที่น้ำร้อนกำลังพอดี พอสุกใช้กระชอนตักขึ้นล้าง และแช่ในน้ำเย็น ก่อนนาเส้นมาจับเป็นหัว ๆ ซึ่งเรียกว่า "จับ"เรียงซ้อนต่อกันเป็นวงกลมในเข่งไม้ไผ่สานที่รองด้วยใบมะยม หรือใบกล้วยขนมจีนมีสี กลิ่นหอม และความเหนียว ต่างกันไปตามระยะเวลาการหมักข้าว ยิ่งหมักมากวัน เส้นที่ได้จะยิ่งเหนียวและหอม แต่สีก็จะคล้ำมากขึ้น เช่น ขนมจีนอีสานมักหมักประมาณ 7 วัน

แต่ขนมจีนที่อ่างทอง หมักเพียง 3 - 4 วัน เส้นก็จะดูขาวกว่า กลิ่นน้อยกว่า ขนมจีนหล่มเก่า ซึ่งมักหมักสั้นๆ เพียง 2 วันก็จะยิ่งขาว กลิ่นหมักแทบไม่มีการทำขนมจีนมีหลายขั้น แต่ละขั้นมีความพิถีพิถัน และใช้แรงมากโดยเฉพาะในการตำข้าว ตำแป้ง นวดแป้ง โรยเส้น และจับเส้น หากทำขนมจีนเลี้ยงในงาน ก็ต้องมีเพื่อนบ้านญาติพี่น้องมาช่วยกันทำล่วงหน้าก่อนถึงวันงาน สร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และการละเล่นรื่นเริงเพื่อนคลายเหนื่อยตามมาเช่น การเล่นเพลงขนมจีนโนเนของคนมอญสามโคก เป็นต้นการหมักข้าว ต้องล้างข้าวที่หมักทุกวันเพื่อกันไม่ให้เน่าเสีย ยิ่งหมักนานก็ยิ่งต้องใช้น้ำมาก ในทางปฏิบัติ  การทำขนมจีนจึงต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำจากแม่น้าลาคลอง ชีวิตชุมชนและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นริมน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไปได้ดีกับวิถีขนมจีนแป้งหมักในไทย พม่า ลาว และเขมร

ขนมจีนเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงในงานบุญเหมือนกัน เพราะกินสะดวกเป็นอาหารจานเดียว หยิบขนมจีนใส่จาน ราดด้วยน้ำแกงในหม้อ ใส่ผักและเครื่องปรุงตามชอบ แค่นี้ก็ได้อิ่มอร่อยกันถ้วนหน้า คนไทยยังนิยมทาขนมจีนน้ำยาถวายพระ และเลี้ยงขนมจีนในงานบุญงานมงคลทุกชนิด เพราะเชื่อว่าเป็นขนมมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะขาดขนมจีนไม่ได้ในงานแต่งงาน และงานหมั้นเพราะเชื่อว่าเส้นที่ยืดยาวทาให้ชีวิตคู่อยู่ยืนนาน ตรงกันข้ามสำหรับงานศพ

คนไทยภาคกลางหลายแห่งไม่นิยมเลี้ยงขนมจีน เพราะไม่ต้องการให้ยืดเยื้อ บางท้องถิ่นก็เชื่อรุนแรงขนาดเลี้ยงขนมจีนในงานศพแล้ว คนตายจะไม่ได้ไปผุดไปเกิด ที่ฟังแล้วอ่อนโยนมากกว่า เห็นจะเป็นความเห็นของคนโพธิ์หัก ราชบุรี ที่วา่ "งานศพจะทำแกงส้มหรือแกงคั่ว แต่ห้ามทำขนมจีนเลี้ยง โบราณเขาถือ เส้นมันยืดยาวคนตายจะมาผูกพันเกี่ยวข้องกับคนเป็น" อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นของกินสะดวก เหมาะสำหรับเลี้ยงคนจำนวนมาก ระยะหลัง ๆ คนเห็นแก่สะดวกเข้าว่า ประเภทไม่ถือสา หรือไม่รู้คงมีมากขึ้น จึงเห็นมีขนมจีนเลี้ยงในงานศพด้วย

ในปัจจุบันขนมจีนน้ำยาและน้ำแกงต่าง ๆ กลายเป็นอาหารยอดนิยมทั้งในไทย ลาว เขมร และพม่าในราคามิตรภาพสาหรับคนเดินดินทั่วไป มีขายตามข้างทาง ตลาด และแหล่งชุมชนหนาแน่น


ที่มา : http://www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/Knowledge/ที่มาของคำว่าขนมจีน.pdf
read more

มาดูกัน ขนมจีน ในภาษาอังกฤษเค้าเรียกกันว่าอะไร ?

หลายท่านคงเคยได้พูดคุยกับฝรั่งมังค่า หรือชาวต่างประเทศนะครับ เกี่ยวกับอาหารของไทยเรา ที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ มากมายหลายชนิด เช่น ผัดไทย,แกงเขียวหวาน,ต้มข่า,ส้มตำ ฯลฯ แต่ก็มีอาหารอยู่อย่างหนึ่ง คือขนมจีน เวลาสนทนาอธิบายให้คนต่างชาติ(ภาษาอังกฤษ) เราจะอะธิบายเป็นภาษาอังกฤษด้วยประโยคอะไร ใช้คำอะไรดีหนอ  

ดังนั้นผมได้ลองค้นหาจากแหล่งอ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษาออนไลน์ เอานะครับ

http://th.w3dictionary.org




ถ้าแปลจากที่นี่ก็จะได้ดังนี้

ขนมจีน ในภาษาอังกฤษคือ
N. Thai vermicelli eaten with curry
def:[อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลมๆ คล้ายเส้นหมี่ กินกับน้ำยาน้ำพริกเป็นต้น]
sample:[รายการอาหารกลางวันวันนี้มีขนมจีนน้ำพริก]



แต่ถ้าจาก Google Translator ละก็

ขนมจีน = Noodles.   ฮ่าๆ

ไม่รู้ว่าจะตรงใจหรือเปล่านะครับ
เท่ากับว่า  ขนมจีน = Thai vermicelli eaten with curry    คงพอจะไปอธิบายชาวต่างชาติได้บ้างนะครับ
หรือจะบอกว่า  This is a Noodles  หรือเปล่า อิอิ....

ขนมจีน Like a Noodle   ,Mean Thai vermicelli eaten with curry.make from rice
read more

ร้านขนมจีน แม่ติ่ง-โด่งดังด้วยรสชาติความอร่อยของน้ำแกง


ร้านขนมจีนแม่ติ่ง อันที่จริงแล้วก็คือลูกหลานของป้าไม“ขนมจีนป้าไม”ต้นตำรับขนมจีนอันเลื่องชื่อของจังหวัดภูเก็ต
ขนมจีนแม่ติ่งโด่งดังด้วยรสชาติความอร่อยของน้ำแกง ทั้งน้ำยาปู แกงไก่ แกงพุงปลา น้ำพริก น้ำชุบหยำ และผักเกร็ดต่างๆ ที่มีให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ทั้งผักสดทั่วไป และผักสดตามฤดูกาล เช่น ผักกูด ลูกมุด ยอดหมุย ใบมันปู นอกจากนั้นยังมีห่อหมก ทอดมัน ไข่ต้ม และปลาฉิ้งฉ้างให้ทานเพิ่มรสด้วย แต่ที่พิเศษยิ่งกว่านั้น ก็คือทางร้านจะบริการลูกค้าให้ตักน้ำแกงเองได้ตามชอบใจ จึงเป็นที่ติดอกใจติดใจแก่บรรดาลูกค้ามาเป็นเวลานาน


ราคา
จานละ
20 บาท ห่อหมก12บาท
ร้านขนมจีนแม่ติ่ง28 .สตูล อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000

เปิดบริการทุกวัน 05.30-11.00 . (หลัง 12.00 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต โทร. 0-7621-4500, 0-7625-2284

read more

ไม่ใช่ขนม แต่ทำไมเรียก"ขนมจีน"ล่ะ -

ขนมจีนถือเป็นอาหารคาวที่มีแทบจะทุกภาคของประเทศไทยเรา ประกอบไปด้วยเส้นขนมจีนและน้ำยา ที่มีหลายชนิดแล้วแต่จะนิยม

ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาป่า น้ำยากะทิ น้ำยาเขียวหวาน น้ำเงี้ยว น้ำพริก ซาวน้ำและน้ำยาหวาน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป

ทางเหนือเรียกขนมจีนว่า "ขนมเส้น"

ทางอิสานเรียกขนมจีนว่า "ข้าวปุ้น"


แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นต่างก็เข้าใจตรงกันว่ามันคือขนมจีนซึ่งด้วยชื่อของมันที่ว่า "ขนมจีน" นั้นอาจจะทำให้หลาย ๆ คนเกิดสงสัยขึ้นมาว่าขนมจีนนั้นถือเป็นอาหารคาว แล้วทำไมถึงได้เรียว่า "ขนม" ล่ะ ซึ่งเรื่องนี้นั้นมีที่มา ....



สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน"

หมายถึง "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า"จริง ๆ แล้วขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจินคนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก"

นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม"

แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้วขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบันขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง

ดังนั้นขนมจีนจึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำงานและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป
และนี่ก็คือที่มาของคำว่า "ขนมจีน" คราวหน้าถ้าจะสั่งขนมจีนก็คงจะไม่ต้องสงสัยกันแล้วนะจ๊ะว่าทำไม อาหารคาวถึงเรียกว่า "ขนม" !!~

...ทีมงานที่นี่ดอทคอม...


ที่มา : http://new.goosiam.com/news2/html/0019058.html
read more

การทำ เส้นขนมจีน (แบบใช้อีโรย)



  • อุปกรณ์การทำเส้นขนมจีน
  1. ที่โรยเส้น มีหน้าที่บีบแป้งให้เป็นเส้นลงน้ำร้อน ชาวบ้านเรียก "อีโรย" ลักษณะเป็นกระบอกมีรูด้านล่างหลายรู และมีอีกกระบอกเล็กมีหน้าที่เหมือนลูกสูบดันแป้ง ให้ลองไปตามร้านรับบัดกรีแล้วขอดูได้ แต่ต้องสั่งพิเศษให้มีรูเล็กกว่าที่วางขายทั่วไปเพราะขนมจีนเราเส้นเล็กกว่า อาจสั่งทำเป็นสแตนเลสหรือสังกะสีก็ได้ ร้านที่รับบัดกรีแทบทุกร้านสามารถทำได้แน่นอน
  2. กะละมัง ใช้กะละมังก้นลึกอลูมิเนียมขนาด 50 .. หรือกะละมังอะไรก็ได้ที่ก้นลึกหน่อยหากไม่มีเงินจะใช้กระปีปก็ยังไหว เอาไว้โรยเส้น



  3. ที่ตักเส้น มีลักษณะเหมือนโครงไม้ตีแบดแต่มีตาข่ายเป็นเชือกถักถี่ ๆ ห้อยย้อยดูง่าย ๆ เหมือนที่สำหรับช้อนปลาของแม่ค้าปลานั่นเอง เอาไว้ช้อนเส้นที่สุกแล้วมาล้างน้ำ
  4. กะละมังล้างเส้น มีไว้สัก 3-4 ลูก
  5. ที่ใส่แป้งเมื่อต้ม คล้ายชะลอมไม้ไผ่ใส่แป้งดิบเมื่อต้มให้สุกอาจใช้วิธีนึ่งในซึ้งเอาก็ได้
  6. กระปีปต้มแป้ง ใช้กระปีปเปิดฝาธรรมดา
  7. เครื่องตีแป้ง เป็นเครื่องนวดแป้งชนิดราง แต่ไม่มีใช้วิธีตำแป้งเอาก็ได้ (ตำด้วยครกไม้ใหญ่)



  • วิธีทำ

  1. ก่อนอื่นนำแป้งดิบสัก 4 กิโล มาต้มในกระปีปที่มีน้ำเดือดอยู่โดยใส่แป้งที่ปั้นกลม ๆ ในชะลอมแล้วหย่อนลงไปหรืออาจใช้วิธีนึ่งในซึ้งก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 5-6 นาที แต่หากเป็นแป้ง 8 กิโลจะใช้เวลาประมาณ 10 นาทีให้ลองดูแป้ง โดยวิธีหยิกแป้งดูถ้าแป้งสุกลึกเข้าเนื้อแป้งสักครึ่งข้อนิ้วข้อแรกเป็นใช้ได้
  2. นำลูกแป้งที่สุกแล้วมาตีด้วยเครื่องนวด หากไม่มีใช้ครกใหญ่ตำก็ได้ ตีจนแป้งแตกตัว
  3. นำแป้งมาใส่กะละมังเทน้ำร้อนลงไปคลุกเคล้า ช่วงนี้ต้องดูแป้งเป็นคือ อย่าใส่น้ำมากเกินเพราะจะเหลวบีบไม่เป็นเส้น หากข้นไปก็จะปีบไม่ออก ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการทดลองกันเล็กน้อย แต่ไม่เกินครั้งสองครั้งก็ดูเป็น
  4. เสร็จแล้วเทแป้งใส่ผ้าขาวบางแล้วรวบผ้าช่วยบีบให้แป้งลอดผ้าออกมารูดให้หมด เนื่องจากแป้งมีความหนืดเหนียวจึงต้องออกแรงบีบเล็กน้อย
  5. นำแป้งมาใส่ที่โรยเส้นแล้วโรยเส้นลงในกะละมังที่ใส่น้ำตั้งบนเตา โรยในขณะที่น้ำเดือดสำหรับเทคนิคการโรยคือ เวลาโรยจะต้องไม่อยู่กับที่จะต้องวนไปเรื่อย ๆ ในขณะบีบอยู่จะไม่ให้เส้นลงซ้ำกันและอย่าโรยสูงให้ที่โรยอยู่เหนือน้ำสัก 3-4 นิ้ว โรยจนหมดแป้งและไม่ต้องโรยแบบลีลา ให้รีบ ๆ โรยโดยออกแรงกดมาก ๆ เร็ว ๆ ให้แป้งพุ่งออกมาจากรูเลย
  6. ทิ้งไว้จนเห็นเส้นลอยขึ้นมาเป็นแพ ใช้ที่ตักช้อนเส้นออกมาให้หมดในคราวเดียว
  7. นำเส้นที่ได้ไปล้างน้ำในกะละมังน้ำเย็น โดยใช้กะละมังสัก 4 ลูก ใส่น้ำวางเรียงไว้โดยไม่ต้องเอาเส้นออกจากที่ตัก จุ่มไปทั้งหมดใช้มือช่วยเขย่าขยำเบา ๆ ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ กับกะละมังลูก 2 ลูก 3 พอถึงลูกที่ 4 ก็ให้เทเส้นลงแช่ในน้ำเลย และหากน้ำที่ใช้ล้างเริ่มจะร้อนก็ให้รีบเปลี่ยนทันที
  8. ดึงเส้นออกมาจับโดยใช้วิธีพันนิ้ว เมื่อได้ขนาดแล้วเด็ดออก หากก้อนเล็กให้พันนิ้วเดียว(นิ้วชี้ซ้าย) ก้อนใหญ่ก็สองนิ้ว ได้แล้วใช้มือบีบน้ำออกเบา ๆ วางขนมจีนเรียงใส่กระจาด ควรจะทำทุกอย่างด้วยความรวดเร็ว อย่าปล่อยให้แช่น้ำนาน ๆ เป็นอันเสร็จวิธีทำเส้นสูตรหล่มเก่า


ที่มา : 
http://www.archeep.com/food/san.HTM
read more

ขนมจีน น้ำยาปลา - Pantip.Com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Pantip.Com
ขนมจีนน้ำยา
เครื่องปรุง
1. เครื่องแกง (ซื้อสำเร็จรูป ไม่ต้องมาตำเอง) + กะปิ
2. ปลาแดง (ใครจะใช้ปลาช่อน หรือปลาอะไรก็ได้)
3. กะทิ
4. ตะไคร้ ใบมะกรูด
5. น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก (หรือส้มแขกก็ได้)









6. เส้นขนมจีน

วิธีทำ



1. ปลาแดง ขอดเกร็ด ควักใส้ออก ล้างให้สะอาด...ตะไคร้ทุบ มัดไว้




2. น้ำปลาไปต้ม ใส่ตะไคร้ลงไป




3. เมื่อปลาสุก ตักใส่จานพักไว้ให้เย็น (เพราะเราต้องแกะเอาเฉพาะเนื้อปลา) เตรียมเครื่องแกงไว้




4. โขลกพริกแกง กับ กะปิ ใส่เนื้อปลาลงไป โขลกต่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน




5. ได้หน้าตาแบบนี้ ตักใส่ถ้วยพักไว้




6. คั้นกะทิ ตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงลงไป



7. เคี่ยวน้ำแกงให้เดือด




8. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก (นิดหน่อย) เพื่อให้รสกลมกล่อม แต่อันนี้ใครจะไม่เติมก็ได้

สุดท้าย ฉีก (เน้นว่าต้องฉีกนะ) ใบมะกรูดใส่ลงไป....((เวลาฉีกใบมะกรูดให้ฉีกที่เส้นตรงกลางใบ และฉีกเหนือหม้อ เพราะกลิ่นจะได้ลงไปในหม้อ...ใส่เสร็จปิดฝา ยกลงจากเตา))

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
- คุณ janeko จากเว็บไซต์ Bloggang.com

ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ขนมจีนน้ำยา
read more