ขนมจีนน้ำยาหยวก
๒. ปลาช่อน หรือปลายี่สก
๓. เกลือ
๔. ขิง
๕. กระชาย
๖. ตะไคร้
๗. หอมแดง
๘. กะปิมอญ
๙. น้ำมันพืช
๑๐. ขนมจีน
ขั้นตอน / วิธีทำ
๑. หั่นต้นกล้วยอ่อนเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่ในน้ำเกลือ
๒. นำขิง กระชาย กะปิ ผงชูรส เกลือ โขลกละเอียด
๓. ผ่าหัวหอมแดงเป็นชิ้น (หอมแดง ๑ หัว ผ่า ๔ ชิ้น)
๔. ต้มปลาทั้งตัว แกะเอาแต่เนื้อ แล้วนำไปคั่วให้แห้ง
๕. ตั้งหม้อบนเตา ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย ใส่หัวหอมแดงที่หั่นชิ้นคั่วไปมา ใส่ต้นกล้วยอ่อนแล้วคั่วให้เข้ากัน ใส่น้ำพอประมาณ ใสเครื่องแกงที่โขลกไว้ ใส่เนื้อปลาคั่ว ใส่ตะไคร้ทั้งต้น โดยมัดรวมกันทั้งต้นแล้วทุบให้แหลกนิดหน่อย
๖. ปรุงรสเพิ่มเติมได้ เดือดแล้วยกลง
ในการรับประทานขนมจีนน้ำยาหยวก จะมีเครื่องปรุงรสและเครื่องเคียง ซึ่งผู้บริโภคจะเติมหรือไม่เติมก็ได้ มีดังนี้
๑. น้ำมะขาม
๒. กระเทียมเจียว
๓. พริกแห้งทอด (เป็นเม็ด)
๔. ผักชี/ผักชีผรั่ง
๕. ถั่วฝักยาว
๖. ถั่วทอดพม่า (ถั่วเหลืองเม็ดใหญ่)
๗. ไข่ต้ม
เทคนิคในการทำ (เคล็ดลับ)
๑. ต้นกล้วยอ่อน (หยวกกล้วย) หั่นและแช่ในน้ำเกลือ เพื่อให้นิ่ม และไม่คันคอเมื่อนำไปรับประทาน
๒. หัวหอมแดงใส่มาก ๆ จะอร่อย
๓. ปลานำไปคั่วให้แห้งจะทำให้ไม่เหม็นคาว
๔. ขนมจีนที่นิยมรับประทานจะเป็นขนมจีนแป้งหมัก
๕. ใช้กะปิมอญ เนื่องจากเป็นกะปิที่ทำมาจากปลาซิว ไม่มีกลิ่น มีสีดำคล้ำ
บุคคลผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้าน
ชื่อ นางกัญจนา เลิศอุดมหงส์ อายุ ๓๙ ปี
อาชีพ ค้าขาย และบริการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
มีประสบการณ์ในการทำอาหาร ๒๑ ปี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๕๕๐ หมู่ ๒ ตำบลหนองลู
อำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อร้านอาหาร อาหารมอญหน้าโรงพยาบาล
จำหน่ายที่ หน้าโรงพยาบาลอำเภอสังขละบุรี
ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๔.๐๐ น.
เบอร์โทรศัพท์/มือถือ ๐๘๙-๘๓๗๗๓๓๖
ที่มาของอาหาร
ชาวไทยรามัญ (มอญ) อำเภอสังขละบุรี เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอาชีพทำไร่ ทำสวน และพืชที่ปลูกกันมาก คือ กล้วย เพราะปลูกง่าย และมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่า ที่เรียกว่า กล้วยป่า ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ดังนั้น ชาวไทยรามัญจึงนำต้นกล้วยอ่อนมาประกอบเป็นอาหารคาว เช่น แกงส้มหยวกกล้วย ยำหยวกกล้วย หยวกกล้วยต้มจิ้มน้ำพริก และน้ำยาหยวกกล้วย
ถดูที่นิยมกิน
ได้ตลอดทั้งปี
รสชาติ
รสชาดของน้ำยาหยวกจะมีรสจืด แต่เมื่อเติมเครื่องปรุงรสจะออกเปรี้ยว เผ็ด
คุณค่าโภชนาการ
ขนมจีนน้ำยาหยวกเป็นอาหารพื้นบ้านชาวไทยรามัญ (มอญ) อำเภอสังขละบุรี ที่ชาวบ้านนิยมรับประทานกันมาก ในด้านคุณค่าทางโภชนาการจะเห็นได้ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง ๕ หมู่ และในทางพฤกษาศาสตร์พบว่า หยวกกล้วยสามารถรักษาสุขภาพของร่างกายได้ คือ ล้างในระบบทางเดินอาหารกากและเส้นใยจะช่วยดูดซับไขมันในบริเวณลำไส้ ทำให้ไขมันดูดซึมสู่ร่างกายน้อย และช่วยไม่ให้ท้องผูก
ที่มา : http://thaifood.m-culture.go.th/food.php?id=589&id_group=3
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..