ข้อเสนอพิเศษ ลองดู

Saturday, 30 June 2012

ขนมจีนแกงเผ็ดเป็ดย่าง- ขนมจีนมีระดับ-สูตรนี้เป็นตำรับปักษ์ใด้

ขนมจีนแกงเผ็ดเป็ดย่าง- สูตรนี้เป็นตำรับ
ปักษ์ใด้  

ขนมจีนแกงเผ็ดเป็ดย่าง ใส่กล้วยดิบสูตรนี้เป็นตำรับปักษ์ใด้ กล้วยดิบเพื่อนำไปแกงเนื้อจะเหนียวมัน
ใช้ได้ทั้งกล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุก ลอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

เมื่อหั่นกล้วยแล้วต้องแช่ในอ่างน้ำเกลือทันที เพื่อไม่ให้กล้วยดำ แต่ไม่ต้องรแช่นาน เพราะจะทำให้
เนื้อกล้วยนิ่ม ก่อนแกงควรล้างน้ำเพื่อลดความรสเค็มออกไป

ส่วนผสมเครื่องแกง

  1. พริกชี้ฟ้าแห้งแกะเมล็ดออก 15 เม็ด
  2. ข่าแก่หั่น 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
  3. ตะไคร้ซอย 2 ต้น
  4. ขมิ้นสดหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
  5. กระเทียมแกะเปลือก 4-5 หัว
  6. พริกไทยดำเม็ด 1 1/2 ช้อนชา
  7. พริกไทยอ่อน 2 ช้อนโต๊ะ
  8. กะปิ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
  9. เกลือป่น 1 ช้อนชา



วิธีทำเครื่องแกง
ทำน้ำพริกแกงโดย โขลกเครื่องแกงทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย พักไว้
ส่วนผสมเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม
  1. กล้วยเล็บมือนางดิบ 4 ผล
  2. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
  3. ปลาทูนึ่ง ย่างงแกะเอาแต่เนื้อ 3 ตัว
  4. น้ำเปล่า5 ถ้วย
  5. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือสมุทร 1 ซ้อนชา
  7. ใบมะกรูดฉีก 2 ใบ
  8. พริกชี้ฟ้าสีแดงหันแฉลบ 2 เม็ด

วิธีทำขนมจีนแกงเผ็ดเป็ดย่าง

1. ลอกเปลือกกล้วย เอาเปลือกนอกออก เอาเปลือกเขียวด้านในไว้ กรีดตามยาวผลกล้วย
เป็น 2-3 เส้น หั่นเฉียงตามผลกล้วย จะได้กล้วยเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงแช่ในอ่างน้ำเกลือ
เจือจางเพื่อไม่ให้ดำ

2. เตรียมเครื่องแกง โดยผัดน้ำพริกแกงที่โขลก กับน้ำมันในกระทะด้วยไฟกลาง จนมีกลิ่นหอม
จากนั้นใส่เนื้อปลาทูย่างลงไป แล้วผัดให้เข้ากัน ใส่น้ำเปล่าต้มจนเดือดจัด ใส่กล้วยดิบ เคี่ยวจน
กล้วยสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา เกลือ ใส่ใบมะกรูด ชิมรสให้เผ็ดเค็มนำ ใส่พริกชี้ฟ้า ปิดไฟ

3. จัดขนมจีนใส่จาน ตักแกงเผ็ดราด หรือตักแกงใส่ถ้วยแยกต่างหาก เสิร์ฟพร้อมกับผักเหนาะ
ผักเหนาะมี ผักกาดขาว ถั่วพู ใบบัวบก กะหล่ำปลี ถัวฝักยาว แตงกวา ถั่วงอก ผักชีล้อม สะตอ
ผักดองมี หอมแดง แตงกวาหัวไช้โป็หวาน ผักต้มราดกะทิมี สายบัว ผักบุ้ง ฯลฯ





เขียนโดย papaya mania ที่ 11:44
ป้ายกำกับ: ขนมจีนแกงเผ็ดเป็ดย่าง





read more

วันนี้มาดู การทำขนมจีนน้ำใสแบบเว้ -(บุ๋นบ่อเหว)

ขนมจีนน้ำใสแบบเว้ (บุ๋นบ่อเหวๆ(มีเอคโค่))

วันนี้ขอเสนอ เวียดนามมมมมมมม เวียดนามมมมม อิ อิ ๆๆ


สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. ขนมจีนพร้อมกิน รสชาติอาจจะไม่คุณปากคนไทยได้พอประมาณ
  2. หอมแดงซอย 5 หัว
  3. ตะไคร้หั่นแฉลบ 5 ต้น
  4. หอมใหญ่หั่นใหญ่ 5 หัว
  5. กะปิ 1 ช้อนชา
  6. ปาปริก้า 1 ช้อนโต๊ะ
  7. น้ำ 15 ถ้วย
  8. เนื้อวัว 500 กรัม
  9. ขาหมูหั่นเป็นชิ้น 800 กรัม
  10. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
  11. ปรุงรสด้วย
  12. เกลือ น้ำปลา น้ำตาลกรวด ผงปรุงรส
  13. เครื่องเคียง
  14. พริกป่นผัดน้ำมัน น้ำส้ม


เครื่องเคียงผัก
ประกอบด้วย ผักกาดหอมหั่นท่อน ต้นหอมหั่น ผักชีหั่น ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ถั่วงอก


เครื่องปรุงประกอบด้วย



เริ่มด้วย เอาน้ำมันใส่หม้อ เราใช้หม้อผัดคะ ใส่หอมแดงหอมใหญ่ ปาปริก้า ตะไคร้




กะปิ ผัดให้หอมมม มาก จนถึงมากที่สุด อิๆๆ







ผัดจนได้หน้าตาประมาณนี้ หอมมมมมมมมมาก




เอาเนื้อกับขาหมูใส่หม้อ ถึงเวลาต้มตุ๋น อีกแล้ว ต้มให้เปลื่อยนุ่ม แล้วปรุงรส



น้ำซุปที่ได้จะหอมตะไคร้เป็นพิเศษ คือหนักตะไคร้ นะคะ แล้วตักขาหมูกับเนื้อ
ออกจากหม้อ 
หั่นเป็นชิ้นเล็กพอประมาณคะ



จัดขนมจีนผักเนื้อใส่ถ้วย หน้าตาประมาณนี้คะ



ใส่น้ำซุปคะ  ปรุงรสเหมือนเวลาเรากินก๋วยเตี๋ยวคะ
อ้างอิงจาก: Sascha Blackforest น่ากินมากๆ
http://www.pantown.com/board.php?id=5495&name=board7&topic=284&action=view





read more

ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga)- แบบเพี้ยนๆ


ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) แบบเพี้ยนๆ

ถ้ามีคนถามถึงอาหารประจำชาติพม่า คนพม่าก็จะกล่าวถึง Mo Hin Ga ทันที Mo Hin Ga คือขนมจีนน้ำยา
ที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ จะเรียกว่าน้ำยาป่าก็ได้

ชาวพม่าจะทาน Mo Hin Ga กันในตอนเช้า ร้าน Mo Hin Ga ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผงลอย อยู่ตามข้างถนน ราคาก็ชามละ 200 - 500 จัต (ประมาณ 6 - 15 บาท) ถ้า 500 จัดก็จะเป็น Mo Hin Ga ในร้าน ตามโรงแรม 5 ดาว
บางวันก็อาจจะมี Mo Hin Ga เป็นอาหารเช้าด้วย

น้ำยา Mo Hin Ga จะใช้ปลาน้ำจืดเป็นหลักพวก ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยาก็จะเป็น หยวกกล้วย (ใส้ในต้นกล้วย) และใช้พวกแป้งถั่ว (Chickpea Flour) หรือ ข้าวคั่วเพื่อทำให้น้ำแกงข้น จากนั้นก็โรยหน้าด้วย ถั่วเหลือง
ทอด ไข่ต้ม ปลาเส้นทอด ปลาท่องโก๋ ผักชี ปรุงรสด้วยพริกป่น และมะนาว


ไปที่เมืองย่างกุ้ง ก็ให้เพื่อนชาวพม่าพาไปชิม Mo Hin Ga เพื่อนก็พาไปทานที่ร้าน Sein Oo ซึ่งเป็นร้านที่ทำ
Mo Hin Ga ได้รางวัลชนะเลิศ ไปถึงร้านก็ตกใจ เพราะเป็นเพิงข้างถนน แต่ทำ Mo Hin Ga ได้อร่อยมาก


ภาพ Mo Hin Ga ของร้าน Sein Oo จะเห็นหยวกกล้วยชัดเจนในน้ำยา







หม้อน้ำยา Mo Hin Ga หม้อขนาดใหญ่มาก เพราะร้านนี้ขายดีมาก ลูกค้าเยอะ 



อร่อยดี วันรุ่งขึ้นก็เดินเล่นตอนเช้าไปเห็นร้านขาย Mo Hin Ga ท่าทางสะอาดดี ก็เลยแวะชิมอีกครั้ง
เพราะชักติดใจ อยากจะรู้รสชาติแบบต่างๆ ของ Mo Hin Ga 

ร้าน Mo Hin Ga 





เครื่องปรุงโรยหน้า Mo Hin Ga




Mo Hin Ga




ผักชี ถั่วฝักยาว โรยหน้า




พริกป่นคั่ว หอมมาก ไม่ค่อยเผ็ด




Mo Hin Ga ใน Trader Hotel รสชาติสู้ของชาวบ้านไม่ได้




แผง Mo Hin Ga ริมถนน



ทาน Mo Hin Ga แล้ว กลับมาเมืองไทยก็มาลองทำ Mo Hin Ga ทานบ้าง โดยสอบถามสูตรจากภรรยาเพื่อนพม่า พร้อมทั้งค้นจาก Web และ ตำราอาหารพม่า 

สูตร
- ปลาช่อน 1 กก.
- ตะใคร้ 2 - 3 ต้น

เครื่องแกง ปรากฏว่าเป็นสูตรเดียวกันกับเครื่องแกงเผ็ดใต้ ประกอบไปด้วย พริกแห้ง หอม กระเทียม ตะใคร้ กะปิ
ขมิ้น แต่จะมีขิงเพิ่ม เลยใช้เครื่องแกงปักษ์ใต้แทน เติมขิงลงไปด้วย 1 แง่ง



- น้ำซุปจากการต้มปลาช่อน
- หอมใหญ่ซอย 1 หัว
- ข้าวคั่วป่น 1 ถ้วย คั่วข้าวให้หอมแล้วมาใส่ครกตำให้ละเอียด ถ้ามี แป้ง Chickpea ก็ใช้แทนข้าวคั่วได้
- หยวกกล้วย (หาไม่ได้ เลยไม่ใส่)



ปลาช่อน ซื้อมา 2 ตัว มาแบ่งทำน้ำยาปักษ์ใต้ และ Mo Hin Ga พร้อมๆ กัน เพราะกลัวว่าคนที่บ้าน
อาจจะไม่ชอบ Mo Hin Ga





ตั้งน้ำในหม้อ ใส่ตะใคร้ 2 ต้น พอน้ำเดือดก็ใส่ปลาช่อนลงไป ต้มจนปลาสุก ตกปลาขึ้นมา น้ำซุปปลาเก็บไว้ทำน้ำยา Mo Hin Ga ต่อปลาช่อนที่ต้มแล้ว




แกะเนื้อปลาช่อนออกมา




ตั้งหม้อใส่น้ำมันไป 5 ช้อน ใส่เครื่องแกงเผ็ดปักษ์ใต้ไป 3 ช้อน ขมิ้นผงอีก 1 ช้อนชา ไปผัดกับน้ำมันให้หอม




เติมหอมใหญ่ซอยไปผัดให้สุก




เติมเนื้อปลาช่อนสุกที่แกะไว้ลงไปผัดต่อ




ผัดให้เนื้อปลาเข้ากับเครื่องแกง




เติมน้ำซุปที่ต้มปลาช่อนไว้ลงไป




จากนั้นก็เติม ข้าวคั่วป่น




น้ำยา Mo Hin Ga และข้าวคั่ว





น้ำยา Mo Hin Ga ก็จะข้นขึ้นเพราะข้าวคั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา ถ้าชอบหวาน ถ้าชอบรสหวานก็เติมน้ำตาลปี้บ
ลงไปด้วยก็ได้ รอจนเดือด



น้ำยา Mo Hin Ga ก็เสร็จสิ้น




ตักใส่ถ้วย น้ำยา Mo Hin Ga จะต่างกับที่พม่าตรงที่มีเนื้อปลาช่อนเยอะกว่ามากๆ สีเหลืองกว่า คงเป็นเพราะใส่
ขมิ้นเยอะ น้ำยา ของแท้สีคล้ำกว่า





ตักราดขนมจีน โรยหอมเจียวไปนิด ทานกับ ไข่ต้ม ถั่วผักยาว และใบชะพลูทอด (แทนถั่วเหลืองทอด) พริกป่น
ไม่ได้ใส่เพราะน้ำยานี้รสเผ็ดจากเครื่องแกงปักษ์ใต้ น้ำยา Mo Hin Ga แท้รสอ่อน ไม่เผ็ด ต้องเติมพริกป่นคั่ว





สรุป ทุกคนที่บ้านทานได้ น้ำยา Mo Hin Ga แบบเพี้ยนๆ หมดก่อนน้ำยาปักษ์ใต้
ครั้งหน้าจะลองทำใหม่โดยจะหา แป้ง Chickpea และ หยวกกล้วย มา รสชาติน่าจะดีขึ้น







อ้่างอิงข้อมูลจาก 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=chim&date=27-10-2008&group=2&gblog=63 






read more

มารู้จักวิธีการทำขนมจีนแบบเดิม ๆ- ของแท้กันดีกว่า


ขนมจีนแบบดั้งเดิมจะมีขั้นตอนและวีธีการทำนานกว่า
แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความอร่อยของรสชาติแบบเดิม ๆ   

การทำขนมจีน

      ขนมจีนที่เราทานกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นขนมจีนที่ทำมาจากแป้งสำเร็จจากโรงงาน ซึ่งจะสะดวกสบายในการทำ ใช้ระยะเวลาในการทำสั้น แต่ขนมจีนแบบดั้งเดิมจะมีขั้นตอนและวีธีการทำนานกว่า แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความอร่อยของรสชาติแบบเดิม ๆ  ใครอยากลองทำบ้างก็ลองดู
      ที่บ้านขนมจีน หมู่ที่ 3 ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ก็มีการทำขนมจีนจำหน่ายกันมานาน จนได้ชื่อบ้านว่าบ้านขนมจีน ขนมจีนที่ทำได้ในแต่ละวันจะส่งออกจำหน่ายในท้องถิ่น เช่น ในเขตเทศบาลตำบลโคกพระ อำเภอเมือง อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย การทำขนมจีนของชาวบ้านส่วนมากจะใช้วิธีการทำจากแป้งสำเร็จจากโรงงาน เพราะใช้เวลาและขั้นตอนในการทำสั้นกว่า แต่สำหรับวันนี้ มารู้จักวิธีการทำขนมจีนแบบเดิม ๆ ของแท้กันดีกว่า
ขั้นตอนการทำขนมจีนแบบดั้งเดิมมีดังนี้

1.หมักข้าว 
     การหมักข้าว   (Ferment)  นำข้าวสารเจ้ามาแช่น้ำทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง เพื่อทำให้ข้าวสารอ่อนตัว  แล้วจึงสรงใส่ตะกร้า โดยข้าวที่นำมานั้นจะต้องล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน   ปิดไว้ด้วยกระสอบเพื่อให้ดูดความร้อน ข้าวจะเปื่อยเร็ว มีสีคล้ำเล็กน้อย และมีกลิ่นแรง  เนื่องจากมีเชื้อ Lactobacillus sp. ขึ้นมา  ทิ้งไว้ประมาณ  2  วัน  ข้าวสารเจ้าที่ใช้หมักเป็นข้าวเมล็ดหัก  หรือที่เรียกว่า ปลายข้าว จะเปื่อยเร็วกว่าข้าวธรรมดาเนื่องจากน้ำสามารถซึมเข้าไปได้ง่าย ขั้นตอนนี้ต้องหมั่นรดน้ำ เช้า-เย็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา

2.บดข้าว 
      การบดข้าวหรือการโม่ข้าว (Grind)  นำข้าวที่ผ่านการหมักแล้ว มาล้างให้สะอาด และนำมาโม่ให้ละเอียด ด้วยเครื่องโม่แป้งไฟฟ้า จะได้น้ำแป้งข้นสีขาว แต่เนื้อแป้งยังไม่ละเอียด

3.กรองข้าว
      การกรองแป้ง (Filter) คือการนำแป้งที่ได้จาการโม่แล้ว ซึ่งจะได้เนื้อแป้งที่ยังไม่ละเอียด มากรองด้วยเครื่องกรองแป้งเพื่อให้ได้แป้งที่ละเอียดขึ้น โดยใช้ผ้าขาวบางทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน

4.นอนน้ำแป้ง
      การนอนน้ำแป้ง (Sediment) คือการนำแป้งที่ผ่านการกรองใส่ถุงผ้าด้ายดิบ เพราะมีความเหนียวทนทาน มีช่องว่าระหว่างเส้นใย ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน เมื่อตกตะกอนแล้ว รินน้ำใสๆทิ้งไว้ ก่อนที่จะนำไปทับน้ำเพื่อให้แป้งแข็งต่อไป

5.ทับแป้ง
      การทับน้ำหรือทับแป้ง (Weighting)  การทับน้ำเป็นการกำจัดน้ำส่วนเกินออกไป โดยการนำแป้งที่ตกตะกอนและรินน้ำใสออกแล้ว  มาใส่ถุงผ้าด้ายดิบ  ปิดปากถึงให้แน่น  แล้วทับด้วยของหนัก (นิยมใช้หินในการทับ)  ทิ้งไว้ 1 คืน  เพื่อให้น้ำที่ติดอยู่กับไหลออกมา  ทำให้แป้งแห้งเร็วขึ้น  ในขั้นตอนนี้ต้องหมั่นดูแลเปิดผ้าประมาณ  2-3  ครั้ง  เพื่อให้เนื้อแป้งแห้งเร็วขึ้น


6.นึ่งแป้ง
      การต้มหรือนึ่งแป้ง (Steam)  เป็นการทำให้แป้งสุกบางส่วน  และทำให้แป้งเหนียว  ไม่ขาดง่าย เมื่อนำไปบีบโรยเส้น  การต้มแป้งเริ่มด้วยการนำแป้งที่ทับแห้งแล้วมาวางบนเสวียนและหย่อนลงไปต้มในน้ำเดือด  ใช้เวลาต้มประมาณ 30 –40  นาที แป้งจะสุกเฉพาะบริเวณขอบด้านนอกเข้าไปอีกประมาณ 1นิ้วไม่ต้องให้สุกทั้งก้อนเพราะจะทำให้แป้งเหนียวมากเกินไป ทำให้โรยเส้นได้ยาก เมื่อต้มแป้งเสร็จแล้ว นำก้อนแป้งขึ้นพักไว้ให้เย็นก่อนจะนำไปนวดต่อไป

7.ตีแป้ง 
       การนวดแป้งหรือการตีแป้ง  (Knead)  การนวดเป็นการผสมแป้งดิบและแป้งสุกเข้าด้วยกัน  โดยการก้อนนำแป้งที่ต้มแล้วและพักไว้จนเย็นมาใส่เครื่องตีแป้งไฟฟ้า ตีแป้งให้ละเอียด และเม็ดแป้งแตกมากขึ้น ในระหว่างตีแป้งอยู่ให้เติมน้ำสะอาดใส่ลงไปทีละน้อยเพื่อให้แป้งเหลว แป้ง 1 ก้อนใช้เวลาตีประมาณ 20 นาที จะได้แป้งที่เหลวและละเอียดเข้ากัน

8.ครูดแป้ง 
       การกรองหรือการครูดแป้ง  (Filter) การต้มแป้งให้สุกทำให้แป้งมีการจับตัวเป็นก้อน และการนวดไม่สามารถทำให้แป้งแตกตัวออกเป็นเนื้อที่ละเอียดได้หมด  บางส่วนจึงยังเป็นก้อนเล็ก ๆ ปะปนอยู่  การกรองหรือการครูดแป้งจึงเป็นขั้นตอนที่จะกำจัดเม็ดแป้งที่เหลืออยู่ให้หมดไป  ทำให้ไม่มีปัญหาในการโรยเส้น  การกรองนิยมใช้ผ้าขาวบางกรอง  โดยการนำแป้งที่นวดหรือตีจนละเอียดแล้วเทใส่ในผ้าขาวบาง  รวบชายผ้าเข้าหากัน  และหมุนผ้าเป็นเกลียว หรือใช้วิธีบีบก็ได้ เพื่อให้แป้งไหลผ่านผ้าออกมา  จะได้แป้งที่เนื้อละเอียดไม่มีเม็ดแป้งปนอยู่  และพร้อมที่จะนำไปโรยเส้นต่อไป




 9.โรยเส้น 
        การโรยเส้น  (Press) โดยการนำแป้งที่นวดและกรองแล้วใส่ลงในถัง ซึ่งถังนั้นเป็นถังเก็บแป้งพร้อมกับมีเครื่องมือในการโรยเส้นติดอยู่ด้านข้างของถัง เป็นลักษณะคล้ายก๊อกน้ำ ใช้มอเตอร์ในการบีบเส้นขนมจีน เมื่อเดินเครื่อง  น้ำแป้งจะผ่านแว่นลงในหม้อที่มีน้ำเดือดอยู่  การบีบเส้นแต่ละครั้งนั้น จะดูตามความเหมาะสม ประมาณ 15 วินาที จะบีบเส้นได้ประมาณครั้งละ 1 – 1.5 กิโลกรัม เมื่อเส้นสุกแล้ว  โดยการสังเกตจากเส้นที่ลอยขึ้น  จากนั้นใช้กระชอนหรือตะกร้าพลาสติกช้อนขึ้นไปแช่ในน้ำเย็น



10.จับเส้น 


       การทำเส้นให้เย็นและจับเส้น  (Cooling)  คือการนำเส้นขนมจีนที่ตักขึ้นมาล้างในน้ำเย็น  ประมาณ 2  น้ำ ให้เส้นขนมจีนเย็นพร้อมจับเป็นหัว ๆ และเพื่อหยุดการดูดน้ำของเส้นขนมจีน   การจับเส้นขนมจีนให้เป็นหัวหรือเป็นจับนั้น  ทำได้โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือข้างที่ถนัด  จับเส้นขนมจีนไปใส่ที่ปลายนิ้วชี้อีกมือหนึ่งแล้วโค้งลง  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือบีบไว้  เมื่อได้ขนาดหัวที่ต้องการแล้วจึงตัดเส้นขนมจีนออก  นำไปวางในกระจาดหรือภาชนะซึ่งมีใบตองรองไว้แล้ว  การจับเส้นขนมจีนนั้น  ถ้าจะให้สวยต้องจับครั้งละน้อยๆ  จึงจะทำให้น่ารับประทาน การจับเส้นขนมจีน 1 จับหรือ 1 หัวจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ขีด






read more

Friday, 29 June 2012

ขนมจีนผัดไข่ เมนูใหม่ น่าลิ้มลอง

ส่วนประกอบ
1.ขนมจีน 2 กระจับ
2.ไข่ไก่ 1 ฟอง
3.ผักกระหล่ำปลี หั่น (ถ้าไม่มีไม่ใส่ก็ได้)
4.กระเทียม 3 กลีบ (ทุบแล้ว)
5.ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
6.น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
7.น้ำมันพืช 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
8.พริกไทย

วิธีการทำ
นำกะทะตั้งไฟปานกลางใส่น้ำมันรอจนน้ำมันร้อน อย่าให้ร้อนมาก หลังจากนั้นใส่กระเทียมลงไป รอจนกระเทียมเริ่มเหลือง

พอกระเทียมเหลืองให้ใส่กระหล่ำปลีลงไปผัด พอสีเริ่มเปลี่ยนให้ ตอกไข่ใส่ลงไปคน
ใส่ขนมจีนลงไปแล้วคน ปรุงรสด้วยน้ำตาล,ซีอิ๊วขาว คนให้เข้ากันอีกที
ตักใส่จานโรยพริกไทยนิดหน่อยเสร็จเรียบร้อยพร้อมเสริ์ฟ

เคล็ดลับ
1.กระหล่ำปลีควรหั่นเป็นเส้นๆแต่ไม่ใช่แบบฝอย
2.ถ้าอยากได้รสชาติจัดจ้านแนะนำ ให้เติมพริกป่น,บีบมะนาว อร่อยอย่าบอกเชียว





อ้างอิงจาก : http://www.foodietaste.com/recipe_detail.asp?id=2047
โดย golfjane (02 มิ.ย. 2554 14:56:03) ขอบคุณสำหรับเมนูครับ



read more

การโขลกขนมจีน ประเพณีที่ต้องอนุรักษ์ของพิจิตร

แต่ก่อนนเรื่องการทำอาหารแต่ละอย่างเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่เหมือนกับการทำกับข้าวสมัยนี้ แต่ก็ทำให้คนต้องมาพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังเช่นการลงแขกเกี่ยวข้าว การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น 

ดังเช่นชาวบ้าน บ้านวังตายศ หมู่ที่  4 ตำบล โพทะเล อำเภอ โพทะเล จังหวัด พิจิตร ที่ต้องการรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีของชุมชน

 ประวัติความเป็นมา
ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้น เรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย คำว่า“จีน” ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญ ซึ่งเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” (คะนอมจิน) หมายถึง “สุก 2 ครั้ง”
ชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านวังตายศตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ได้เริ่มการโขลกขนมจีนรับประทานกันเองภายในหมู่บ้าน ประมาณ 5-6 ถัง จากนั้นได้มีการทำขนมจีนกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดในการทำขนมจีนเพื่อเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานสงกรานต์ในหมู่บ้าน โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 17-18 เมษายนของทุกปี  ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร


วัสดุที่ใช้
1. อ่างดินเผา
2. อีโรย (เครื่องโรยขนมจีน)
3. เตาถังแกลลอน
4. กระทะ
5. กระโปง
6. ชะลอม
7. กระจาด
8. ครกไม้
9. ไม้สำหรับโขลกขนมจีน
10. หม้อ
11. ผ้าขาวบาง
12. ตะแกรง
13. ใบมะยม
14. ใบตอง
15. กะละมัง
16. ข้าวสาร


วิธีการทำ
ขั้นตอนการแช่ข้าว
1. นำข้าวสารใส่กะละมังแช่น้ำให้ท่วม พักไว้ 1 คืน
2. ตักข้าวที่แช่น้ำใส่กระโปง แล้วทิ้งไว้ 1 คืน


ขั้นตอนการทำน้ำแป้ง
1. นำข้าวที่ใส่ในกระโปง พักค้างคืนไว้ 1 คืน มาทำการบี้ให้ละเอียด แล้วนำผ้าขาวบางมากรองน้ำแป้ง
2. นำน้ำแป้งที่ได้มาใส่ในถุงแป้งโดยทิ้งให้น้ำแป้งตกตะกอน จากนั้นรินน้ำที่อยู่ด้านบนถุงออกให้หมดให้เหลือแต่ตะกอน
3. มัดปากถุงแป้งให้แน่น แล้วนำของหนักมาทับถุงแป้งไว้ ทิ้งไว้ 1 คืน



ขั้นตอนการโขลกขนมจีน
1.นำถุงแป้งที่ทับน้ำจนแห้งสนิทแล้วมาบี้ให้เนื้อแป้งแตกละเอียด

2.ปั้นเนื้อแป้งที่แตกละเอียดให้เป็นลูกใหญ่พอประมาณ

3.ก่อไฟที่เตาถังแล้วนำกระทะใส่น้ำไปตั้งไฟให้น้ำเดือด

4.นำลูกแป้งที่ปั้นไว้ใส่ชะลอม แล้วนำไปต้มในกระทะน้ำร้อนที่ตั้งไฟไว้จนเดือด ประมาณ 10-15 นาที จนลูกแป้งสุก สังเกตที่ผิวลูกแป้งจะสุกหนาเท่าเส้นตอก 1 เส้น หรือประมาณ 1 เซนติเมตร

5.พอลูกแป้งที่ต้มไว้สุกแล้วยกออกจากกระทะและนำไปล้างน้ำ 1 ครั้ง

6.นำลูกแป้งที่สุกแล้วใส่กระโปงพักไว้ จากนั้นนำไปใส่ครกไม้เพื่อโขลกให้ละเอียด

7.นำไม้มาตำลูกแป้งที่อยู่ในครกให้ละเอียด จนเนื้อแป้งเหนียว นุ่ม สังเกตจากการจับเนื้อแป้งดูความเหนียวและนุ่ม


8.เมื่อเนื้อแป้งเหนียวและนุ่มพอสมควรแล้ว นำมาใส่อ่างเพื่อทำการโน้ม (นวด) โดยผสมกับน้ำร้อนเพื่อช่วยในการนวดแป้งให้ง่ายขึ้น

9.เมื่อนวดแป้งได้ที่แล้ว สังเกตดูจากการปล่อยเนื้อแป้งให้หยดลง แล้วดูการหยดของเนื้อแป้งจากนั้นนำแป้งที่นวดเสร็จแล้วมากรองด้วยผ้าขาวบางใส่ลงไปในหม้อที่เตรียมไว้ ถ้าเนื้อแป้งเหนียวเกินไปให้ใส่น้ำผสมลงไป เพื่อลดความเหนียวของแป้งขนมจีน

10.นำแป้งที่นวดและกรองใส่ในหม้อเรียบร้อยแล้วใส่ในอีโรย หรือเครื่องโรยขนมจีน จากนั้นนำไป
โรยในกระทะน้ำร้อนที่ตั้งไว้จนเดือด

11.พอเส้นขนมจีนที่โรยลงไปในกระทะลอยขึ้นมาเหนือน้ำแสดงว่าเส้นขนมจีนสุกแล้ว ให้ใช้ตะแกรงตักเส้นขนมจีนออก แล้วนำไปล้างน้ำ 1 ครั้ง

12.นำเส้นขนมจีนที่ล้างน้ำแล้ว 1 ครั้ง ใส่ในกะละมังน้ำที่เตรียมไว้ แล้วจับเป็นหัว นำไปใส่ในกระจาดที่รองด้วยใบมะยม เพื่อนำขนมจีนไปรับประทานต่อไป



วิธีการเรียนการสอน


ชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านวังตายศ เรียนรู้วิธีการโขลกขนมจีนโบราณสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ
จากการเข้าร่วมประเพณีสำคัญของหมู่บ้าน ทำให้เยาวชนรุ่นหลังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดวิธีการโขลกขนมจีนแบบโบราณของหมู่บ้านต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ประโยชน์ของภูมิปัญญาเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชน และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของบรรพบุรุษไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป



สถานที่ 
ศาลากลางหมู่บ้าน
บ้านวังตายศ
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 4
ตำบล โพทะเล อำเภอ โพทะเล จังหวัด พิจิตร

รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสุทิน กลิ่นทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านวังตายศ
บุคคลอ้างอิง นางสาวปรีชญา นิลนารถ อีเมล์ p.nilnart@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
ถนน บุษบา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 056-612675-6 โทรสาร 056-612676

ที่มา :
http://work.m-culture.in.th/album/139482/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93






read more

Friday, 22 June 2012

"ล่าแซ" เป็นอาหารของคนมุสลิม-คล้ายๆขนมจีนผสมก๋วยเตี๋ยวน้ำ


วันนี้ไปเที่ยวตลาดนัดยานิง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส   ซื้อสเต๊ะไก่ กับข้าวอัดก้อนมา  แล้วก็ลาแซ มาลองกิน ก็รสชาติอร่อยดีมีผักเป็นดอกดาหลา ถั่วงอก ใบตาเป็ดตาไก่ หรอยแรง  มากินกัน


ล่าแซคืออาหารเส้นของชาวมุสลิมทางใต้ คล้ายๆขนมจีนผสมก๋วยเตี๋ยวน้ำ ใช้เส้นกลมๆสีขาวใหญ่
พอกะเส้นอู้ด้งญี่ปุ่น ราดด้วยน้ำซุปร้อนๆ กลิ่นคล้ายๆ ปลากระป๋อง ใส่ผักกลิ่นฉุนหลายอย่าง ในมาเลเซียเรีียก"ลักซ่า(laksa)" แต่แปลกร้านดังๆ ในปินังส่วนมากคนขายกลับเป็นอาซิ้มอาเจ็กไปเสียนี่




อาหารจานนี้ ไม่ได้เรียกว่าขนมจีน และลักษณะหน้าตาถ้าพบเห็นแบบนี้ให้ฟันธงได้เลย
ว่าเป็น "ล่าแซ" ซึ่งเป็นอาหารของคนมุสลิม

จะว่าไปอีกอย่าง  "ล่าแซ" ก็คือขนมจีน โบราณจากมาลายู กินกับน้ำยาขาว แต่คนไทยบ้านเราเอามาประยุกต์ ให้กินกับน้ำแกงกะทิ ที่คนไทยเรียกว่าขนมจีน ทานกับน้ำยาชนิดต่างๆ กันไป





"ลักซ่า(laksa)"
ลองเข้าไปดูได้ที่นี่ http://www.laksa.com/



read more

Wednesday, 20 June 2012





ผักกระเฉด 

 ส่วนใหญ่คงชอบกินเป็นแนวผัดผักกับหมูกรอบมากกว่า แต่ถ้าสังเกตุซักนิดจะพบว่าบ้างร้านมีอยู่ในถาดผักเครื่องเคียงของขนมจีนเหมือนกันนะครับ ชื่อตามท้องถิ่นแต่ละภาค ผักหนอง ( ภาคเหนือ ) ผักกระเฉด ผักรู้นอน ( ภาคกลาง ) ผักหละหนอง ( แม่ฮ่องสอน ) ผัดฉีด ( ใต้ )  ผักกระเสดน้ำ (อุดรธานี-ยโสธร )

 1 ถ้วยตวง เราจะได้เบต้าแคโรทีนค่อนข้างดีและมีลูทีนสูงมาก ให้วิตามินซีพอประมาณคือ ร้อยละ 14 ใยอาหารร้อยละ 7 โพแทสเซียม แมกนิเซียมและฟอสฟอรัสร้อยละ 4 แคลเซียมและเหล็กร้อยละ 3 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน มีทองแดงเล็กน้อย มีสังกะสีและโซเดียมน้อยมาก มีโพลีฟีนนอลและประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง
1 ส่วน เท่ากับ 63 กรัม ประมาณ 1 ½ ถ้วยตวง ให้พลังาน 25 กิโลแคลอรี ให้โปรตีน 2.2 กรัม
read more

ผักชีล้อม เครื่องเคียงดีๆที่สาวๆไม่ควรมองข้าม



ผักชีล้อม
หนึ่งในผักเครื่องเคียงที่บ้างคนอาจไม่รู้จักชื่อ หอมป้อมกุลา ผักชีดอย แมะและเด๊าะ ผัดจี ผักหอมเป ผักหอมห่อ ผักชีใบเลื่อย ผักหอมเทศ ในเครื่องเคียงผักขนมจีน นั้นคือผักชีล้อม เมื่อไปพบข้อมูลด้านอาหารมา พบว่าเป็นจผักที่สุภาพสตรีควรรับประทานอย่างยิ่ง
 1 ถ้วยตวง มีเบต้าแคโรทีนและลูทีนค่อนข้างสูง แต่มีวิตามินซีเพียงร้อยละ 1 ใยอาหารร้อยละ 5 แคลเซียมและโพแทเซียมร้อยละ 4 และ 3 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคภายใน 1 วัน ตามลำดับ ให้แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และทองแดงนิดหน่อย มีสังกะสีและโซเดียมน้อยมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระคือโพลีฟีนอลพอประมาณและมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง









จากหนังสือ ชุดคู่มือดูแลสุขภาพด้วยอาหาร : โภชนาการกับผัก



read more

คุณประโยชน์จากเครื่องเคียงขนมจีน : ถั่วงอก

ถั่วงอก



ถั่วงอก เป็นผักที่เจอทุกร้านที่มีขายขนมจีนน้ำยา เพราะราคาถูก นอกจากเพิ่มความกรอบให้ขนมจีนแล้ว ยังมีสารอาหารต่อไปนี้
จากปริมาณ 1 ถ้วยตวง มีวิตามินซีร้อยละ 7 ใยอาหารร้อยละ 5 ฟอสฟอรัสร้อยละ 5 แมกนีเซียมและทองแดงร้อยละ 4 มีโพแทสเซียม แคลเซียม เหล็กและสังกะสีเล็กน้อย โซเดียมน้อยมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระคือไซยานิดินเล็กน้อย มีโพลีฟีนอลบ้าง และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระพอควร

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ชุดคู่มือดูแลสุขภาพด้วยอาหาร : โภชนาการกับผัก


read more

Monday, 18 June 2012

ขนมจีนโกอินเตอร์ แจ้งเกิด "ธุรกิจใหม่" -(ข่าวเก่า)


ขนมจีนโกอินเตอร์ แจ้งเกิด "ธุรกิจใหม่" 
11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 



ถึงแม้ธุรกิจอาหารแปรรูปจะแข่งขันสูง แต่ยังมีช่องว่างให้ผู้ส่งออกรายใหม่ได้แจ้งเกิด วิภูษิต ทรงวุฒิศีล ทายาทธุรกิจค้าข้าว กับเส้นทางต่อยอดกิจการครอบครัวไปสู่การส่งออก "ขนมจีนอบแห้ง" ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม 3-4 เท่าตัว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :    ในบรรดาอาหารประเภท "เส้น" ขนมจีน เคยเป็นสินค้าที่หารับประทานยากในต่างแดน เพราะอายุการเก็บรักษาที่สั้น ต้องขายวันต่อวัน

  ช่องว่างในตลาดที่มีดีมานด์ แต่ยังขาดซัพพลายนี้เอง จุดประกายให้ วิภูษิต ทรงวุฒิศีล มองเห็นโอกาสธุรกิจใหม่ ทลายกำแพงข้อจำกัดเดิมๆ ด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่อย่าง "ขนมจีนอบแห้ง"

   "คนส่วนใหญ่คิดว่า การทำขนมจีนอบแห้ง เพียงแค่ทำเส้นสุกแล้วมาอบให้แห้ง แต่วิธีนี้อายุการเก็บรักษาจะสั้นกว่า และต้องใช้แป้งมันมาผสม เพื่อไม่ให้เส้นติดกันเวลาอบ ทำให้เวลาเอาไปต้ม น้ำจะข้นมาก"

  การทำขนมจีนอบแห้ง จึงไม่ง่ายอย่างที่คิด วิภูษิต ต้องตั้งต้นจากการพัฒนาโปรดักท์ให้มีความแตกต่าง และโดดเด่นเฉพาะตัว ซึ่งใช้เวลานานถึง 4 ปี กว่าจะคิดค้นสูตรเด็ดลับเฉพาะ พร้อมออกแบบเครื่องจักรผลิตเส้นขนมจีนอบแห้ง ซึ่งได้ไปจดสิทธิบัตรเอาไว้แล้ว




วิภูษิต เล่าว่า ธุรกิจขนมจีนอบแห้ง เป็นธุรกิจใหม่ที่ต่อยอดจากธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว ที่กุมบทบาทผู้ค้าส่งข้าวรายใหญ่ป้อนให้กับโรงงานแปรรูปก๋วยเตี๋ยว และเส้นขนมจีนในภาคอีสานมานานกว่า 30 ปี

"ขนมจีนอบแห้ง" เป็นสินค้าแปรรูปตัวแรกที่เราทำ ที่เลือกทำตัวนี้ เพราะอาหารประเภทเส้นอื่นๆ คู่แข่งเยอะมาก รายใหม่เข้าไปทำตลาดได้ยาก ด้วยกำแพงด้านราคาค่อนข้างสูง รายเดิมที่ทำมานานได้เปรียบในการตั้งราคาต่ำ เพราะเขาเลยจุดคุ้มทุนไปแล้ว

แต่ขนมจีนอบแห้ง เป็นธุรกิจใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีคนทำ และเทคโนโลยีนี้ในเมืองไทยยังมีคนทำได้ไม่กี่เจ้า เลยเป็นโอกาสที่เราน่าจะเข้ามาทำตลาดก่อน


พื้นฐานธุรกิจค้าข้าวของที่สืบทอดมาจากรุ่นพ่อ กลายเป็นแต้มต่อในการทำธุรกิจใหม่ จากประสบการณ์เรื่องข้าวต่างๆ ที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้รู้ว่าต้องใช้ข้าวพันธุ์ไหน ทำเส้นขนมจีนถึงจะอร่อย 


ด้วย 2 แรงประสาน รุ่นพ่อคิดสูตร ส่วนรุ่นลูก คือ วิภูษิต ทำหน้าที่คิดเครื่องจักร จึงได้ขนมจีนอบแห้งที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า 100% มีความเหนียวนุ่มเฉพาะตัว และสร้างความแตกต่างด้วยการไม่ใช้แป้งหมักและแป้งมัน สะอาด ไม่มีจุลินทรีย์ สามารถเก็บได้นานถึง 2 ปี


วิภูษิต เล่าว่า ประสบการณ์ที่เคยใช้ชีวิตเรียนอยู่ต่างประเทศ ทำให้เขามองเห็นภาพของตลาดธุรกิจอาหารเส้นแปรรูปว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มชาวเอเชียที่ไปอยู่ในต่างประเทศ เพราะนอกจากจะเป็นเส้นขนมจีนที่รับประทานกับน้ำยา หรือทำอาหาร เช่น ผัดไทย ในสไตล์ไทยๆได้แล้ว ยังดัดแปลงใช้ได้หลากหลายกับอาหารเวียดนาม หรือชาติอื่นๆ 

   "ตลาดส่งออกค่อนข้างมีวอลุ่มที่ใหญ่กว่าตลาดในประเทศมาก เพราะสินค้าประเภทเส้น เป็นสินค้าของคนเอเชียอยู่แล้ว เฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าข้าวแปรรูปของไทยปีๆหนึ่งมูลค่านับพันล้านบาท ขณะที่อาหารเส้นแปรรูป ไทยยังติดหนึ่งในห้าของผู้ส่งออกรายใหญ่ "

  ถึงแม้พื้นฐานครอบครัวจะทำธุรกิจค้าส่งข้าวมาถึง 30 ปี แต่การเข้ามาจับธุรกิจใหม่ ตั้งบริษัท เอ พลัส จำกัด ผลิตและทำตลาดส่งออกขนมจีนอบแห้ง ทำให้ วิภูษิต ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งกับบทบาท  "ผู้ส่งออกมือใหม่"

  "เดิมธุรกิจที่บ้านก็ไม่เคยทำส่งออก ผมจึงต้องลุยด้วยตัวเอง แรกๆ ยอมรับว่ายาก เพราะยังไม่เคยมีประสบการณ์ และไม่เคยทราบว่าการส่งออกต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง"

  วิภูษิต เป็นหนึ่งในทายาทธุรกิจคนรุ่นใหม่ ที่เกาะติดช่องทางเข้าถึงการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีจากนโยบายรัฐ หลังจากผ่านโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาก็สมัครเข้าร่วมโครงการใหม่ ในหลักสูตรสร้างผู้ประกอบการใหม่เพื่อการส่งออก ของเอ็กซิมแบงก์

  แผนธุรกิจส่งออกขนมจีนอบแห้งของ วิภูษิต ยังเป็นหนึ่งในแผนธุรกิจส่งออกที่ได้รับรางวัลแผนธุรกิจยอดเยี่ยม จากเอ็กซิมแบงก์ด้วย

   " การเข้าโครงการที่เอ็กซิม ถือว่าช่วยได้เยอะ ทำให้ผู้ประกอบการใหม่ที่ไม่มีความรู้ด้านส่งออก สามารถมองเห็นภาพการทำธุรกิจที่ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนกระบวนการส่งออก การวางแผนสำหรับธุรกิจส่งออก และได้ทราบถึงความเสี่ยง และปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการส่งออก รวมถึงเรื่องเทอมชำระเงิน และการหาลูกค้า"

   สำหรับความโดดเด่นของแผนธุรกิจส่งออกขนมจีนอบแห้งที่วิภูษิตนำเสนอ เจ้าตัวมองว่า นอกจากตัวผลิตภัณฑ์ที่มีจุดแข็งเป็นตัวเสริมให้แผนธุรกิจมีความเป็นไปได้สูงแล้ว น่าจะมาจากการใช้ข้อมูลการตลาด และประมาณการความต้องการตลาดที่ทำให้เห็นความเป็นไปได้ในทางธุรกิจโดย นอกจากจะเจาะหาข้อมูลการนำเข้าส่งออกธุรกิจอาหารเส้นแปรรูปในตลาดเป้าหมาย เช่น สหรัฐอเมริกา ยังต้องประมวลข้อมูลจากประสบการณ์ตรง ที่เคยออกบูธพบปะกับลูกค้า

  แผนธุรกิจที่ดี ยังต้องคิดรอบด้านอย่างครบองค์ประกอบ ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นที่ข้อมูลที่เป็นจริง ปัญหาส่วนมากของการเขียนแผนธุรกิจ คือ เราไม่รู้ข้อมูลภาวะตลาดขณะนั้นๆ การไม่ทราบถึงความต้องการตลาดที่ชัดเจน มีผลทำให้ทิศทางการทำตลาดที่คลาดเคลื่อน

  วิภูษิต บอกว่า ถึงแม้ปีที่ผ่านมา หลังจากเริ่มทำตลาด จะมีเทรดเดอร์ที่ช่วยเป็นตัวกลางนำสินค้าไปทำตลาดส่งออกให้ในต่างประเทศในระดับที่น่าพอใจ แต่เขาเองก็ให้ความสนใจที่จะโดดเข้ามาทำตลาดส่งออกด้วยตัวเอง เพราะมองว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เข้ามาช่วยจัดจำหน่ายเพิ่มเติม และเติมเต็มในส่วนที่เทรดเดอร์ยังไม่ได้ทำตลาดครอบคลุม โดยปัจจุบัน โรงงานตั้งอยู่ที่จ.หนองคาย มีขนาดกำลังการผลิตรวมกันสูงสุด 15 ตันต่อเดือน

  " เอสเอ็มอีส่วนใหญ่มักจะขายส่งออกหน้าโรงงาน เพราะไม่ทราบว่าต้องทำยังไง พอพูดว่าส่งออกปุ๊บ เหมือนมีกำแพงขึ้นมา บางคนศึกษาแล้วพบความยุ่งยากก็จะเลิกล้มความตั้งใจ ไปขายผ่านเทรดเดอร์ดีกว่า แต่จริงๆ แล้ว การส่งออกด้วยตัวเอง สามารถสร้างผลกำไรได้ดีกว่า และในอนาคต ในการพัฒนากลุ่มสินค้าใหม่ๆ จะทำให้เราทราบถึงความต้องการของผู้ซื้ออย่างใกล้ชิด"

สำหรับเส้นทางการแจ้งเกิดสินค้าใหม่ อย่างเส้นขนมจีนอบแห้ง วิภูษิต ยอมรับว่า อุปสรรคแรกๆ คือ ต้องสร้างตลาดให้ได้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค ด้วยการให้ความรู้กับลูกค้าถึงข้อแตกต่าง ผลิตจากข้าวคุณภาพคัดพิเศษของไทย และนอกจากความสะดวกในการใช้ รสชาติความเหนียวนุ่มแล้ว ยังต้องชูจุดขายเพื่อสุขภาพ เพราะเส้นขนมจีนที่ทำจากข้าวเจ้า 100% มีแคลอรีที่ต่ำกว่าแป้งอื่นๆ และย่อยง่ายกว่าแป้งสาลี

ก้าวต่อไปสำหรับ วิภูษิต เขาเตรียมเดินหน้าตามแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยลุยทำตลาดส่งออก ทั้งการออกงานแสดงสินค้าด้านอาหารในต่างประเทศ และพบปะกับผู้นำเข้าในตลาดเป้าหมาย ซึ่งตลาดที่น่าจะมีโอกาสสูง เช่น อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ซึ่งมีคนเอเชียอยู่จำนวนมาก และมีการนำเข้าสินค้าแปรรูปประเภทเส้นสูง ควบคู่ไปกับการทำตลาดในประเทศ ซึ่งขณะนี้ เริ่มขายให้กับครัวในห้างสรรพสินค้า

การเข้ามาสานต่อธุรกิจของครอบครัว ด้วยการแตกตัวธุรกิจใหม่ จากค้าข้าวสู่การแปรรูปขนมจีนอบแห้ง จึงเป็นทางโตของธุรกิจในอนาคต โดยธุรกิจแปรรูปสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกว่าการขายข้าวได้อย่างน้อยๆ 3-4 เท่า



ดุลยปวีณ กรณฑ์แสง
From:http://www.bangkokbiznews.com






read more

ทำไมคนภาคใต้ชอบทานขนมจีน-คำถามที่ตอบได้


ทำไมคนภาคใต้ชอบทานขนมจีน

ภาคใต้ของประเทศไทย ประกอบไปด้วยจังหวังต่างๆรวม 14 จังหวัด คือ 1.กระบี่ 2.ชุมพร 3.ตรัง 4.นครศรีธรรมราช 5.นราธิวาส 6.ปัตตานี 7.พังงา 8.ภูเก็ต 9.พัทลุง 10.ยะลา 11.ระนอง 12.สงขลา 13.สตูล และ 14.สุราษฎร์ธานี

"ดารุณีย์" ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ภาคใต้" เอาไว้ใน หนังสือชุด "76 จังหวัดในเมืองไทย" ของ "สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว"(2541) หน้า 223 ว่า "ภาคใต้ คือ ดินแดนแห่งสองฝั่งทะเล ทั้งอ่าวไทย และ อันดามัน มีเสน่ห์ที่ชักชวนให้ไปเยือนและเรียกร้องให้กลับไปสัมผัสอีกครั้งอย่างไม่รู้เบื่อ นอกจากชายฝั่งทะเลอันสวยงามแล้ว ภาคใต้ยังมีเกาะแก่ง แนวประการัง ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมอันดำรงคงรูปแบบเฉพาะตัว"





"ขนมจีน" คืออะไร" ข้อนี้มีกล่าวเอาไว้ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิยสถาน พ.. 2542 หน้า 161 ว่า "ขนมจีน (ขะหฺนม-) . อาหารชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลมๆคล้ายเส้นหมี่ กินกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น" ซึ่งข้อความข้างต้นนี้สอดคล้องกับที่ คณะผู้จัดทำหนังสือชุด "นายรอบรู้" นักเดินทาง : พังงา (สำนักพิมพ์สารคดี,...) กล่าวเอาไว้ว่า "ขนมจีน คือ ของกินอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ ขนมจีนนิยมกินกับน้ำพริกน้ำยา แกงไก่ แกงไตปลา ซึ่งกินกับผักสารพัดชนิด ทั้งผักกูดลวก ผักบุ้งลวก หัวไชโป๊วหั่น ยอดมะม่วงหิมพานต์(หัวครก) ลูกฉิ่ง ผักเหมียง ลูกเนียง ลูกตอ(ลูกสะตอ) ผักหมุย กินกับไข่ต้ม ทอดมัน เป็นต้น"


พอที่จะเข้าใจคำว่า "ภาคใต้" กับคำว่า "ขนมจีน" แล้ว คราวนี้มาเข้าเรื่องกันว่า "ทำไมคนภาคใต้ชอบทานขนมจีน"


เหตุที่คนภาคใต้ชอบทานขนมจีนนั้น น่าที่จะสืบเนื่องมาจากลักษณะทางภูมิอากาศของทางภาคใต้ ซึ่งเป็นแบบร้อนชื้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมทะเลพัดอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นผลให้ปริมาณน้ำฝนหล่อเลี้ยงพืชพรรณธัญญาหารได้ตลอดทั้งปี ภาคใต้จึงมีผลผลิตจำพวกข้าว และพืชผักอุดมสมบูรณ์ดี และสืบเนื่องด้วยขนมจีนจำต้องรับประทานกับผักเป็นจำนวนมากในแต่ละมื้อ ประกอบกับเมื่อมีผลผลิตมากเหลือพอจำหน่ายจ่ายแจกแล้ว ส่วนหนึ่งจึงนิยมนำผลผลิตมาปรุงอาหารเป็น "เครื่องเคียง" ไว้ทานกับขนมจีน 


เหตุต่อมาคือลักษณะทางภูมิประเทศของภาคใต้ สืบเนื่องด้วยภาคใต้เป็นดินแดนสองฝั่งทะเล ทั้งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จึงทำให้อาชีพการประมงเป็นอาชีพที่เป็นที่นิยมอีกอาชีพหนึ่ง คนภาคใต้จึงมีอาหารจากทะเลโดยเฉพาะปลาทะเลทานกันตลอดทั้งปี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการแปรรูปเนื้อปลาทะเลมาทำ "น้ำยาขนมจีน" ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายกว่าการใช้ปลาน้ำจืดมาทำกัน ซึ่งในเรื่องนี้ คณะผู้จัดทำหนังสือ "สงขลา กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 22" ของ "โรงพิมพ์ ไทยนำ หาดใหญ่"(2524) กล่าวไว้ในหน้า 80 สรุปได้ว่า "ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้นั้น ถือเป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวใต้ไม่แพ้ ข้าวยำ" 


โดยเฉพาะขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้นั้นต่างจากของภาคกลางตรงน้ำยา ซึ่งไม่นิยมนำปลาดุกมาทำเป็นน้ำขนมจีน แต่ของภาคใต้จะนิยมใช้เนื้อปลาทะเลนานาชนิด(แล้วแต่ใครชอบปลาอะไร)ซึ่งเป็นปลาที่มีมากกว่าปลาดุกแทน และสืบเนื่องด้วยเนื้อปลาทะเลมีรสหวาน มัน ชาวใต้จึงนิยมใส่ "ส้มแขก" ในน้ำยาขนมจีน เพื่อให้รสค่อนไปทางเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีแกงเผ็ด แกงไตปลา และอื่นๆ

อาจพอสรุปได้ว่า เมื่อการเกษตรเก็บเกี่ยวผลผลิตจำพวกข้าวได้มาก จึงนำมาทำเส้นขนมจีน ส่วนผักในภาคใต้ก็มีเยอะเนื่องด้วยมีน้ำฝนช่วยหล่อเลี้ยงตลอดทั้งปีผลผลิตจึงดีตามไปด้วย ประกอบกับเป็นดินแดนสองฝั่งทะเลจับปลาได้มาก นำมาทำน้ำขนมจีนได้ตลอดทั้งปี ขนมจีนเป็นอาหารที่ทานง่าย กินง่าย ไม่ยุ่งยาก ในการทำ มีเส้นขนมจีน 1 ถาดใหญ่ เก็บผักที่ขึ้นตามรั้วบ้าน แล้วนำปลาทะเลที่มีให้จับกินตลอดทั้งปีมาทำเป็นน้ำยาขนมจีน แค่นี้ก็พอเลี้ยงผู้มาเยือนได้เป็น 10 แล้ว ต้นทุนในการทำขนมจีนค่อนข้างไม่แพง อร่อย ประหยัด กินง่าย ถ่ายคล่อง เหตุผลแค่นี้คงพอที่จะทำให้ชาวไทยภาคใต้นิยมทานขนมจีนกันอย่างแพร่หลายได้ไม่ยาก

"ขนมจีนอยู่ในวิถีชีวิตของชาวใต้" สังเกตไหมครับว่า "ที่ไหนมีคนใต้ ที่นั่นมักมีร้านขายขนมจีน" 

ผมเคยออกเดินทางไปเก็บข้อมูลงานวิจัยในหลายๆสถานที่ มักจะสังเกตเห็นว่าที่ไหนมีคนใต้พักอาศัยอยู่มากๆ ที่นั่นมักจะมีร้านขายขนมจีนมาเปิดร้านขายอยู่เสมอๆควบคู่กันไป ในกรุงเทพฯ ถ้าคิดไม่ออกก็นี่เลยครับแถวๆหน้า ม.รามคำแหง แถวนี้คนใต้บ้านเราอยู่กันเยอะมาก ผมเคยไปเดินเที่ยวอยู่พักใหญ่ๆซื้อได้ทั้ง ลูกตอ(ลูกสะตอ คนในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย เรียกว่า ลูกไต) และขนมจีน เรื่องรสนี่ก็ไม่ต่างอะไรจากที่สงขลามากนัก จะมีแตกต่างกันบ้างนิดหน่อยก็คือเรื่องผักที่นำมาทำเป็น "เครื่องเคียง" ขนมจีน ซึ่งก็อาจจะมีแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ทางร้านจะหามาได้ 

นอกจากนี้ก็คือเรื่องความเผ็ดครับ คนใต้เท่านั้นที่จะรู้กันว่าขนมจีนของนคร (นครศรีธรรมราช) กับขนมจีนของพัดลุง (พัทลุง) นี่ออกที่จะเผ็ดกว่าของที่อื่นอยู่พอสมควร ยังจำได้แม่นว่าครั้งหนึ่งไปนั่งทานขนมจีนที่พัทลุง (งานเลี้ยงขึ้นบ้านใหม่ของเพื่อนแล้วสู้รสกับความเผ็ดของขนมจีนที่นั่นไม่ค่อยจะได้ แลไปทางขวามือเห็นขวดน้ำพลาสติกใบโตมีน้ำแข็งเกาะอยู่น่าจะเย็นชื่นใจ จึงรินออกมาเสียแก้วหนึ่งพอเอาเข้าปากเท่านั้นแหล่ะปรากฏว่าน้ำใสใส (แก้วนั้น) กลายเป็น "ไก่แจ้" ไปเสียได้ น้ำที่ผมดื่มลงไปอึกหนึ่งจนแทบพ่นออกมาจากปากแทบไม่ทันนั้นเป็น "ไก้แจ้" ครับ (ไก่แจ้ คือ เหล้าเถื่อน) สรุปว่างานนี้ได้ทั้งความเผ็ด ของเนื้อขนมจีน กับความเข็มข้นของน้ำดีกรีหนักจนหายเผ็ดไปเลย


เข้าเรื่องต่ออีกนิด สังเกตกันบ้างไหมครับว่าคนอีสาน กับ คนใต้น่ะมีอะไรที่ออกจะคล้ายๆกันอยู่ คือมีคนอีสานที่ไหนมีไหปลาแดก หรือไหปลาร้าที่นั่น คนใต้ก็เหมือนกัน มีคนใต้ที่ไหนมีขนมจีนที่นั่น ลองเปรียบเทียบกันดู สังเกตนิดหนึ่งว่าวิถีการดำรงชีพของชาวไทยอีสานนี่จะมีความแตกต่างในอีกจุดหนึ่งครับคือ คนอีสานไม่มีทะเล แถมฤดูกาลหนึ่งมีตั้ง 3 ฤดู ยามฝนตกก็ตกจริงๆ ยามแห้งแล้งก็แล้งจริงๆ 


สืบเนื่องจากลักษณะทางภูมิประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินทรายและลักษณะทางภูมิอากาศจึงเป็นปัจจัยให้ชาวอีสานจำต้องเรียนรู้และคิดค้นกรรมวิธีการตักตวงผลผลิตยามหน้าฝน คือการทำปลาแดก หรือ ปลาร้าลงไห เพื่อเก็บเอาไว้กินยามหน้าแล้ง ด้วยความเคยชินและเป็นวิธีการดำรงชีพซึ่งถ่ายเทตกทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง 



เราจึงมักพบว่าชาวอีสานมักนำพาวัฒนธรรมประจำถิ่นไปสู่ที่ต่างๆอาจจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น เรื่องของ อาหารการกิน ภาษา เป็นต้น ขณะเดียวกันในภาคใต้ไม่มีหน้าแล้งหรือหน้าหนาว เนื่องด้วยมีฝนตกแทบทั้งปี พืชผักสมบูรณ์ดี กุ้ง หอย ปู ปลา หาได้ง่ายในท้องทะเล และมีให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ผลพลอยได้หนึ่งในนั้นก็คือขนมจีน ซึ่งเป็นดั่งปกติวิถีการดำรงชีพทางด้านการบริโภคของชาวใต้ อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้แล้วรู้หรือยังครับว่า "ทำไมคนภาคใต้ชอบทานขนมจีน"



เขียน   :   คุณาพร  ไชยโรจน์    






read more

ขนมจีนน้ำยาแกงไก่-สูตรดีเพื่อนบอกมา


วันนี้เกิดอยากกินขนมจีนน้ำยาแกงไก่ขึ้นมาอย่างแรงค่ะ ก็เลยได้ฤกษ์เบิกชัยทำกินค่ะ แต่ต้องออกตัวไว้ก่อนนะคะ ว่าสูตรที่ทำในวันนี้ เพื่อนที่อยู่ที่นี่เป็นคนบอกสูตรมาค่ะ แล้วเหมียวก็ทำตามคำบอก
ของเพื่อนค่ะ สูตรสาวโคราชนะคะ แต่เหมียวไม่ใส่กะทิเยอะนะคะ ชอบให้ออกแบบค่อนไปทาง
น้ำยาป่าค่ะ






วิธีทำ เริ่มจากมาตัดปีก ตัดน่อง ออกก่อนนะคะ แล้วก็สับปีกไก่และน่องไก่เป็นชิ้นพอคำค่ะ





มาเริ่มตำพริกแกงกันเลยนะคะ เครื่องพริกแกงเหมียว มีทั้งแบบสด และแบบฟรีซนะคะ แต่ก็ใช้ได้
เหมือนกันค่ะ ความหอมยังเหมือนเดิมค่ะ เริ่มจากตำพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง (ไม่มีค่ะวันนี้)
ข่า ตะไคร้ กระชาย (เหมียวตำแต่หัวกระชายนะคะ ในพริกแกงวันนี้) ผิวมะกรูด ใส่กะปิลงไปประมาณ
๑ ช้อนโต๊ะนะคะ แล้วตำให้เข้ากันค่ะ



ตำกระชายแค่พอแหลกนะคะ แต่ไม่ถึงกับละเอียดค่ะ ดูในรูปนะคะ
ใบมะกรูด ใส่ทั้งใบก็ได้ค่ะ แต่เหมียวชอบตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อนค่ะ เพราะเพิ่มความหอม 

และที่สำคัญเราจะได้กินไปด้วยค่ะ




ผัดพริกแกงกับกะทิให้หอมนะคะ แล้วใส่ไก่ที่เราสับไว้แล้วลงไปค่ะ ถ้าน้ำแห้งให้เติมกะทิลงไปทีละน้อยนะคะ ผัดไปเรื่อยๆจนไก่สุกแล้วใส่กะทิไปหมดกระป๋องเลยค่ะ พอเดือดใส่น้ำปลาร้าลงไปค่ะ 
เหมียวใส่เยอะค่ะ อันนี้ใส่ตามความชอบนะคะ แต่ถ้าใส่เยอะรสชาติจะเข้มข้นกว่าใส่เกลือค่ะ
แต่อย่าเพิ่งใส่เกลือหรือน้ำปลานะคะ เติมน้ำลงไปค่ะ บอกไม่ได้ว่ามากหรือน้อยบางคนชอบแบบข้นๆ
ก็ใส่น้ำน้อย แต่ถ้าใครชอบน้ำมาก ก็ใส่มากนะคะ หรือบางคนอาจจะไม่ใส่น้ำเลยก็ได้ค่ะ แต่เหมียว
ไม่ค่อยชอบกะทิเท่าไหร่ค่ะ





ปิดฝาหม้อ พอหม้อเดือดอีกทีให้ลดไฟลง ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวต่ออีกประมาณ ๒๐ นาทีค่ะพอเนื้อไก่ได้ที่แล้วก็ใส่ใบมะกรูดลงไปเป็นอันเสร็จค่ะ ไก่เหนียวจะอร่อยกว่าไก่อ่อน (ไก่ที่ไม่เหนียว) ค่ะ ช่วงที่เรา
เคี่ยวไก่นั้น เราก็มาเตรียมผัก และเส้นขนมจีนกันนะคะ.




From : http://www.board.esanupdate.com/index.php?topic=5404.0




read more