ซีอิ๊ว หรือภาษาอังกฤษเรียก Soy sauce เป็นซอสปรุงรสที่ใช้กันมากที่สุดในโลก วันนี้มาลองติดตามกันว่า ประเทศไหนเป็นต้นกำเนิด ซีอิ๊ว ประเทศไหนทำให้ ซีอิ๊ว แพร่หลายไปทั่วโลก
จุดเริ่มต้นของ ซีอิ๊ว แน่นอนว่าต้องอยู่ในประเทศจีนย้อนหลังไปกว่า 1 พันปี บริเวณตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย อ่านดูแล้วอาจจะยัง งงงวยอยู่ว่า ชื่อ ซีอิ๊ว มันภาษาจีนชัด ๆ จะมาเกี่ยวกับประเทศไทยไปได้อย่างไร
เชื่อหรือไม่ แรงบันดาลใจของ ซีอิ๊ว เกิดจาก "น้ำปลา" ครับ แต่โบราณแล้วที่จีนกับไทยมีการค้าขายกันในท้องถิ่นใกล้เคียง และทำให้ชาวจีนมีความคุ้นเคยกับ "น้ำปลา" ซอสที่เกิดจากการหมักเกลือกับปลาของไทยนี่แหละ ทำให้คนจีนสมัยนั้นเกิดความชอบและคิดจะนำไปเผยแพร่กับคนของตัวเองบ้าง ปัญหาติดอยู่ที่ว่า คนจีนทางตอนใต้นั้นส่วนใหญ่กินเจ เขาจึงต้องหาวัตถุดิบทดแทนเพื่อผลิตซอสให้สีและรสชาติใกล้เคียงน้ำปลาที่สุด มีหลักฐานว่า ระยะแรกของซีอิ๊วผลิตจากการหมักผักชนิดต่าง ๆ กับเกลือ ได้เป็นซีอิ๊วสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา จนกระทั่งมาเจอวัตถุดิบที่ยอดเยี่ยมสำหรับซอสในที่สุด ได้แก่ ถั่วเหลืองที่สมัยนั้นใช้หมักทำเต้าเจี้ยวนั่นเอง
ซีอิ๊วแพร่หลายในประเทศจีนเป็นอย่างมาก และขยายไปสู่ญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นที่มาศึกษาพุทธศาสนาในประเทศจีน ได้นำสูตรการทำซีอิ๊ว และเต้าเจี้ยวไปใช้กับประเทศตัวเองบ้างในปี ค.ศ.1228 เริ่มแรกเขาเรียกเต้าเจี้ยวว่า miso และซีอิ๊วว่า tamari-shoyu ซึ่งต่อมากร่อนเหลือเพียง shoyu (โชหยุ)
ผิดกับในประเทศจีน โชหยุในญี่ปุ่นไม่ใช่ของแพร่หลาย หากแต่เป็นของแพงและหายาก มีใช้กันในชนชั้นสูง เช่น ซามุไร และ โชกุน สูตรและวิธีการผลิตโชหยุเป็นของหวงแหนในตระกูลและตกทอดกันมาตามรุ่นเท่านั้น โชหยุไม่มีการนำออกมาขาย และหาซื้อได้ตามร้านตลาดทั่วไป แต่ผลิตใช้กันในบ้าน (ปราสาท) ของตัวเอง โชหยุหรือ soy sauce ของญี่ปุ่นจึงมีความหลากหลายแตกต่างกันหลายร้อยชนิดตามแต่ละตระกูล
ถ้ายังจำได้เกี่ยวกับการปกครองของญี่ปุ่นที่ผู้มีอำนาจมากที่สุดในประเทศคือ ซามุไรผู้รวบรวมกำลังไพร่พลได้มากที่สุด และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็น โชกุน ดังนั้นโชกุนจึงมีการผลัดเปลี่ยนกันตามการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ในปี ค.ศ.1598 อิเอยะสุ โตกุกาวา (Ieyasu Tokugawa คนเดียวกับในเรื่องอิคิวซัง) ต่อสู้รวบรวมอำนาจ และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นโชกุนแทนตระกูล โตโยโตมิ (Toyotomi) โชกุนคนก่อน
ตระกูลมากิ (Maki) ซึ่งเป็นซามุไรใกล้ชิดและรับใช้ตระกูล โตโยโตมิ มานาน หัวหน้าของตระกูลจึงต้องทำฮาราคีรี ฆ่าตัวตายตามไป ภรรยาและลูกได้หลบหนีออกจากปราสาทของตระกูล และเปลี่ยนชื่อแซ่ตัวเองเป็น โมกิ (Mogi) เพื่อไม่ให้มีใครจำได้ เดินทางจากเมือง เอโดะ (Edo) ไปอาศัยยัง โนดะ (Noda) และเปิดกิจการผลิตและค้าขาย โชหยุ สูตรของตัวเองขึ้น
กิจการของตระกูลโมกิเจริญก้าวหน้าอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตและนำโชหยุออกขายให้ประชาชนทั่วไป ตระกูลโมกิกลายเป็นตระกูลพ่อค้าที่ร่ำรวย มีซามุไรหลายตระกูลนำโชหยุสูตรของตัวเองที่ผลิต ออกมาขายบ้างโดยเฉพาะในเมืองโนดะ มีการตั้งชมรมผู้ผลิตโชหยุขึ้น รวบรวมผู้ผลิตโชหยุกว่า 200 สูตร และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทผลิตโชหยุหรือซีอิ๊วที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกในชื่อ คิโคแมน (Kikkoman)
ราวปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเริ่มมีการเปิดประเทศค้าขาย Professor Lunge และ Langgardt นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน 2 คนที่ทำงานเป็นอาจารย์สอนใน Tokyo Imperial University เดินทางไปยังโนดะ เพื่อศึกษาการผลิตโชหยุจากตระกูลโมกิ ต่อมาทั้งสองคนเดินทางกลับไปยังยุโรป และนำสูตรไปผลิต soy sauce เองในชื่อ แมกกี้ (Maggi) อย่างแพร่หลาย
ในเมืองไทยเอง หลังจากนำซอสแมกกี้มาขายจนโด่งดัง มีการผลิตซอสออกมาขายแข่งในหลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขาทอง ฉลากทอง ฯลฯ หารู้ไม่ว่า ต้นกำเนิดของซอสต่าง ๆ นั้น ล้วนแต่มีที่มาจาก "น้ำปลา" ที่เราใช้กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายหลายร้อย หลายพันปีก่อน !!! โลกนี้กลมดีเหลือเกิน ...
ที่มา 100mag
จุดเริ่มต้นของ ซีอิ๊ว แน่นอนว่าต้องอยู่ในประเทศจีนย้อนหลังไปกว่า 1 พันปี บริเวณตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย อ่านดูแล้วอาจจะยัง งงงวยอยู่ว่า ชื่อ ซีอิ๊ว มันภาษาจีนชัด ๆ จะมาเกี่ยวกับประเทศไทยไปได้อย่างไร
เชื่อหรือไม่ แรงบันดาลใจของ ซีอิ๊ว เกิดจาก "น้ำปลา" ครับ แต่โบราณแล้วที่จีนกับไทยมีการค้าขายกันในท้องถิ่นใกล้เคียง และทำให้ชาวจีนมีความคุ้นเคยกับ "น้ำปลา" ซอสที่เกิดจากการหมักเกลือกับปลาของไทยนี่แหละ ทำให้คนจีนสมัยนั้นเกิดความชอบและคิดจะนำไปเผยแพร่กับคนของตัวเองบ้าง ปัญหาติดอยู่ที่ว่า คนจีนทางตอนใต้นั้นส่วนใหญ่กินเจ เขาจึงต้องหาวัตถุดิบทดแทนเพื่อผลิตซอสให้สีและรสชาติใกล้เคียงน้ำปลาที่สุด มีหลักฐานว่า ระยะแรกของซีอิ๊วผลิตจากการหมักผักชนิดต่าง ๆ กับเกลือ ได้เป็นซีอิ๊วสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา จนกระทั่งมาเจอวัตถุดิบที่ยอดเยี่ยมสำหรับซอสในที่สุด ได้แก่ ถั่วเหลืองที่สมัยนั้นใช้หมักทำเต้าเจี้ยวนั่นเอง
ซีอิ๊วแพร่หลายในประเทศจีนเป็นอย่างมาก และขยายไปสู่ญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นที่มาศึกษาพุทธศาสนาในประเทศจีน ได้นำสูตรการทำซีอิ๊ว และเต้าเจี้ยวไปใช้กับประเทศตัวเองบ้างในปี ค.ศ.1228 เริ่มแรกเขาเรียกเต้าเจี้ยวว่า miso และซีอิ๊วว่า tamari-shoyu ซึ่งต่อมากร่อนเหลือเพียง shoyu (โชหยุ)
ผิดกับในประเทศจีน โชหยุในญี่ปุ่นไม่ใช่ของแพร่หลาย หากแต่เป็นของแพงและหายาก มีใช้กันในชนชั้นสูง เช่น ซามุไร และ โชกุน สูตรและวิธีการผลิตโชหยุเป็นของหวงแหนในตระกูลและตกทอดกันมาตามรุ่นเท่านั้น โชหยุไม่มีการนำออกมาขาย และหาซื้อได้ตามร้านตลาดทั่วไป แต่ผลิตใช้กันในบ้าน (ปราสาท) ของตัวเอง โชหยุหรือ soy sauce ของญี่ปุ่นจึงมีความหลากหลายแตกต่างกันหลายร้อยชนิดตามแต่ละตระกูล
ถ้ายังจำได้เกี่ยวกับการปกครองของญี่ปุ่นที่ผู้มีอำนาจมากที่สุดในประเทศคือ ซามุไรผู้รวบรวมกำลังไพร่พลได้มากที่สุด และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็น โชกุน ดังนั้นโชกุนจึงมีการผลัดเปลี่ยนกันตามการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ในปี ค.ศ.1598 อิเอยะสุ โตกุกาวา (Ieyasu Tokugawa คนเดียวกับในเรื่องอิคิวซัง) ต่อสู้รวบรวมอำนาจ และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นโชกุนแทนตระกูล โตโยโตมิ (Toyotomi) โชกุนคนก่อน
ตระกูลมากิ (Maki) ซึ่งเป็นซามุไรใกล้ชิดและรับใช้ตระกูล โตโยโตมิ มานาน หัวหน้าของตระกูลจึงต้องทำฮาราคีรี ฆ่าตัวตายตามไป ภรรยาและลูกได้หลบหนีออกจากปราสาทของตระกูล และเปลี่ยนชื่อแซ่ตัวเองเป็น โมกิ (Mogi) เพื่อไม่ให้มีใครจำได้ เดินทางจากเมือง เอโดะ (Edo) ไปอาศัยยัง โนดะ (Noda) และเปิดกิจการผลิตและค้าขาย โชหยุ สูตรของตัวเองขึ้น
กิจการของตระกูลโมกิเจริญก้าวหน้าอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตและนำโชหยุออกขายให้ประชาชนทั่วไป ตระกูลโมกิกลายเป็นตระกูลพ่อค้าที่ร่ำรวย มีซามุไรหลายตระกูลนำโชหยุสูตรของตัวเองที่ผลิต ออกมาขายบ้างโดยเฉพาะในเมืองโนดะ มีการตั้งชมรมผู้ผลิตโชหยุขึ้น รวบรวมผู้ผลิตโชหยุกว่า 200 สูตร และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทผลิตโชหยุหรือซีอิ๊วที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกในชื่อ คิโคแมน (Kikkoman)
ราวปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเริ่มมีการเปิดประเทศค้าขาย Professor Lunge และ Langgardt นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน 2 คนที่ทำงานเป็นอาจารย์สอนใน Tokyo Imperial University เดินทางไปยังโนดะ เพื่อศึกษาการผลิตโชหยุจากตระกูลโมกิ ต่อมาทั้งสองคนเดินทางกลับไปยังยุโรป และนำสูตรไปผลิต soy sauce เองในชื่อ แมกกี้ (Maggi) อย่างแพร่หลาย
ในเมืองไทยเอง หลังจากนำซอสแมกกี้มาขายจนโด่งดัง มีการผลิตซอสออกมาขายแข่งในหลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขาทอง ฉลากทอง ฯลฯ หารู้ไม่ว่า ต้นกำเนิดของซอสต่าง ๆ นั้น ล้วนแต่มีที่มาจาก "น้ำปลา" ที่เราใช้กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายหลายร้อย หลายพันปีก่อน !!! โลกนี้กลมดีเหลือเกิน ...
ที่มา 100mag
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..