ปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น เมื่อหลายคนหันมาใส่ใจรับประทานผักชนิดต่าง ๆ เพื่อป้องกันโรคกันอย่างแพร่หลาย “กุยช่าย” เป็น ผักใบเขียวอีกชนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นขนมกุยช่าย หรือปรุงอาหารก็ให้กลิ่นหอมน่ารับประทาน และนอกจากจะมีสรรพคุณทางสมุนไพรแล้วยังมีสารอาหารต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายเราอีกด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องให้น้ำนมแก่ลูก
กุยช่าย หรือดอกไม้กวาด เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกุยช่ายแบบสด ๆ กับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยหรือข้าวผัดหรือนำมาปรุงอาหาร เช่น ผัดกับตับหมูก็หอมหวานอร่อย รวมทั้งสามารถนำมาทำเป็นขนมกุยช่ายที่เราชอบรับประทานกันอีกด้วย
นอกจากรสชาติที่หอมหวาน อร่อยแล้ว กุยช่ายยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี แก้อาการฟกช้ำ ใช้ใบสดตำละเอียด พอกบริเวณที่เป็น บรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้ แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทาน รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู
ส่วนสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ในกุยช่ายมีมากมาย ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์ นักวิจัยทางด้านโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า สารอาหารที่เด่น ๆ ในกุยช่าย มี 3 ตัว ได้แก่ วิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น ซึ่งวิตามินเอเป็นส่วนประกอบของสารอาหารจอตา เซลล์เยื่อบุต่าง ๆ และสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เจ็บป่วย ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วน ประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ในการนำออกซิเจน จากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่าง กาย และช่วยขจัดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ออกจากร่างกาย
โดยคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถรับประทานกุยช่ายเพื่อบำรุงน้ำนม ร่วมกับการรับประทานอาหารชนิดอื่น ๆ ที่บำรุงน้ำนมได้ เช่น หัวปลี สามารถนำมาทำแกงเลียงรับประทาน และนอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมกับการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นน้ำนมและให้ลูกน้อยดูดนมบ่อย ๆ และโปรตีน มีในกุยช่าย 3 กรัมต่อ 1 ขีด การที่คุณแม่จะ ให้นมบุตรต้องรับประทานอาหารที่มี โปรตีนด้วย แต่ขอแนะนำให้ทาน โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือถั่วต่าง ๆ สลับ กันไปด้วยก็จะทำให้คุณแม่มีน้ำนม เพียงพอให้ลูกน้อยดื่มกินได้
ทราบคุณประโยชน์ของกุยช่ายกันขนาดนี้แล้วใครที่ยังลังเล กลัวกลิ่นฉุน ๆ อยู่ละก็เปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกุยช่ายดูบ้างนะคะเพื่อสุขภาพที่ดีของ ตัวเราและคนที่เรารัก
กุยช่าย หรือดอกไม้กวาด เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกุยช่ายแบบสด ๆ กับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยหรือข้าวผัดหรือนำมาปรุงอาหาร เช่น ผัดกับตับหมูก็หอมหวานอร่อย รวมทั้งสามารถนำมาทำเป็นขนมกุยช่ายที่เราชอบรับประทานกันอีกด้วย
นอกจากรสชาติที่หอมหวาน อร่อยแล้ว กุยช่ายยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี แก้อาการฟกช้ำ ใช้ใบสดตำละเอียด พอกบริเวณที่เป็น บรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้ แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทาน รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู
ส่วนสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ในกุยช่ายมีมากมาย ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์ นักวิจัยทางด้านโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า สารอาหารที่เด่น ๆ ในกุยช่าย มี 3 ตัว ได้แก่ วิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น ซึ่งวิตามินเอเป็นส่วนประกอบของสารอาหารจอตา เซลล์เยื่อบุต่าง ๆ และสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เจ็บป่วย ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วน ประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ในการนำออกซิเจน จากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่าง กาย และช่วยขจัดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ออกจากร่างกาย
โดยคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถรับประทานกุยช่ายเพื่อบำรุงน้ำนม ร่วมกับการรับประทานอาหารชนิดอื่น ๆ ที่บำรุงน้ำนมได้ เช่น หัวปลี สามารถนำมาทำแกงเลียงรับประทาน และนอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมกับการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นน้ำนมและให้ลูกน้อยดูดนมบ่อย ๆ และโปรตีน มีในกุยช่าย 3 กรัมต่อ 1 ขีด การที่คุณแม่จะ ให้นมบุตรต้องรับประทานอาหารที่มี โปรตีนด้วย แต่ขอแนะนำให้ทาน โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือถั่วต่าง ๆ สลับ กันไปด้วยก็จะทำให้คุณแม่มีน้ำนม เพียงพอให้ลูกน้อยดื่มกินได้
ทราบคุณประโยชน์ของกุยช่ายกันขนาดนี้แล้วใครที่ยังลังเล กลัวกลิ่นฉุน ๆ อยู่ละก็เปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกุยช่ายดูบ้างนะคะเพื่อสุขภาพที่ดีของ ตัวเราและคนที่เรารัก
No comments:
Post a Comment
ขอบคุณจ้า..